วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Technicians


นิยามของช่างอิเล็กทรอนิกส์

       ผู้ปฏิบัติงานช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Technicians ได้แก่ ผู้ทำงานทางเทคนิคภายใต้การแนะนำ และควบคุมของวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือทำงานทางเทคนิคไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการพัฒนา การติดตั้ง และการใช้ระบบอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการตรวจสอบปรากฏการณ์ทางไฟฟ้า หรืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และในโรงงาน ซึ่งเป็นงานที่ต้องการผู้ที่มีความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติขั้นสูงพอที่จะสามารถออกแบบพัฒนา หรือแก้ไขการทำงานผิดปกติของระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อาจควบคุมช่างและคนงานอื่นๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับการสร้างติดตั้ง และซ่อมระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์

ลักษณะของงานที่ทำ
       ทำงานทางเทคนิคภายใต้การแนะนำ และควบคุมของวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ทฤษฎีอิเล็กทรอนิกส์หลัก ของวงจรไฟฟ้า วิธีการทดสอบไฟฟ้า คณิตศาสตร์ทางวิศวกรรม และวิชาการที่เกี่ยวข้องกันมาใช้ผลิต ก่อสร้าง ติดตั้ง ทดสอบการใช้ และการบำรุงรักษาการพัฒนา การแก้ไขเปลี่ยนแปลง และการซ่อมระบบอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์และส่วนประกอบต่างๆ
ปฏิบัติงานหลักมูลฐานเช่นเดียวกับช่างเทคนิคไฟฟ้า แต่ชำนาญงานเกี่ยวกับระบบโทรคมนาคม อุปกรณ์และส่วนประกอบต่างๆ อาจชำนาญงานโทรคมนาคมระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรืองานอีเล็กทรอนิกส์ สาขาอื่นๆ และอาจมีชื่อเรียกตามงานที่ทำ ซึ่งสามารถจำแนกลักษณะงานได้ ดังนี้
1. เป็นนักวิชาการหรือช่างเทคนิคที่ปฏิบัติงานในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่งานอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ งานระบบสื่อสารวิทยุ
2. บำรุงรักษา และตรวจซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องระบบสื่อสาร
3. ควบคุมเครื่อง และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อสารโทรคมนาคมด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง และเฉพาะงาน
4. วิเคราะห์ วางแผน ควบคุม โครงงานทางด้านเครื่องมือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการประเมินผลงาน และการเขียนรายงานได้อย่างเป็นระบบ
5. เป็นผู้ประสานงานระหว่างวิศวกร และช่างฝีมือในการสั่งการ การควบคุมการตรวจสอบ และวิเคราะห์ปัญหาในงานอิเล็กทรอนิกส์
6. ตรวจสอบคุณภาพชิ้นส่วน หรือเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์จากงานการผลิต ก่อนนำบรรจุส่ง ออกตลาด

สภาพการจ้างงาน
       ช่างเทคนิคอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเลือกทำงานได้ทั้งในภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือทำงานส่วนตัวและกับหน่วยงานในองค์กรเอกชนอื่นๆ เช่น สถานประกอบการต่างๆ โรงงานผลิตวิทยุ โทรทัศน์ โรงงาน อุตสาหกรรมทั่วไป ที่ต้องใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์สายการบิน การเดินเรือทะเล เป็นต้น ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาช่างเทคนิคอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำงานจะได้รับเงินเดือนในอัตรา ดังนี้
วุฒิการศึกษา
หน่วยงาน ปวช. ปวส.
ราชการ 4,700 5,740
รัฐวิสาหกิจ 5,000 - 5,500 6,500 - 7,000
เอกชน 5,200 - 6,000 7,000 - 9,500

       อัตราเงินเดือนของผู้ประกอบช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Techniciansในภาคเอกชนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความสามารถ และความชำนาญงาน นอกจากค่าตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วอาจได้รับค่าตอบแทนในรูปอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส ค่าล่วงเวลา เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ในการทำงาน เป็นต้น
ผู้ปฏิบัติงานช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Techniciansทำงานวันละ 8-9 ชั่วโมง อาจทำงานล่วงเวลา วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดตามความจำเป็นเร่งด่วน

สภาพการทำงาน
       ผู้ปฏิบัติงานช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Techniciansทำงานทั้งใน และนอกสถานที่ทำงานในการตรวจ ซ่อม และบริการระบบควบคุมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในงานอุตสาหกรรมสภาพการทำงานหนักปานกลาง ต้องใช้ความอดทนต่อสภาพความร้อนเสียง กลิ่น ของสารเคมี ทำความสะอาดอุปกรณ์ และบางโอกาสทำงานตามลำพัง ต้องใช้ความระมัดระวัง และรอบคอบสูงพอสมควร เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และบางครั้งต้องทำงานเกินเวลาสำหรับผู้ประกอบช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Techniciansที่ทำงาน ในการวิเคราะห์ วางแผน หรือตรวจสอบคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์อาจจะทำงานในห้องทดลอง ซึ่งจะมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สำหรับการทดลอง หรือทดสอบ ต้องใช้ความระมัดระวังและรอบคอบสูงเนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาจต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการทดสอบหากไม่ระมัดระวังโอกาสที่จะประสบปัญหาไฟฟ้าดูดหรือไฟฟ้าช๊อตเป็นไปได้สูง อาจจะต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

คุณสมบัติของช่างเทคนิคอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
- สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- มีร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่องานอาชีพ
- เป็นผู้มีความละเอียดรอบคอบ คล่องแคล่ว ว่องไว ช่างสังเกต หูรับฟังได้ดี ตาดีไม่บอดสี มือและสมองสามารถทำงานพร้อมกันได้ตลอด เวลา
- มีความอดทน ขยันหมั่นเพียร สามารถทำงานกลางแจ้ง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบการคิดคำนวณ มีความละเอียดรอบคอบ
- มีความมั่นใจในตนเองสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
- มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบ วินัย
- เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยดำรงตนอยู่บนพื้นฐานแห่งคุณธรรม และกฎหมาย มีความเป็นผู้นำ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
ผู้ที่ประกอบช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Technicians ควรเตรียมความพร้อมดังนี้คือ : สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถเข้าศึกษาต่อ
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขาวิชาช่างไฟฟ้าหลักสูตร 3 ปี สำเร็จการศึกษาแล้วสามารถสมัครงานประกอบช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Techniciansหรือเข้าศึกษาต่อ
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) หลักสูตร 2 ปี ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมสาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา หรือสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลหรือสาขาวิชาไฟฟ้าในวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- สำหรับแรงงานใหม่ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปฝึกใน สพร. หรือ ศพจ. 10 เดือน และฝึกในสถานประกอบการอีก 2 เดือนรวมระยะเวลาฝึกทั้งหมด 12 เดือน จึงจะได้รับวุฒิบัตรพัฒนาฝีมือแรงงาน (วพร.) แนวการฝึกเน้นภาคปฏิบัติ 70% ความรู้ความสามารถที่ผู้รับการฝึกจะได้รับจากการฝึกได้แก่ ไฟฟ้าโรงงาน เครื่องมือทดสอบและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระบบดิจิตอลและไมโครโปรเซสเซอร์ เครื่องจ่ายไฟ และเครื่องควบคุมระบบควบคุมเรียงลำดับ ความปลอดภัยในการทำงาน และโครงงานอิเล็กทรอนิกส์

โอกาสในการมีงานทำ
       พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ก้าวไปอย่างรวดเร็ว และผลิตภัณฑ์จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป เช่น วิทยุ โทรทัศน์ระบบการสื่อสารเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการประกอบช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Technicians จึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนา และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้งาน จึงนับได้ว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางด้านนี้ จะยังมีตลาดแรงงานรองรับอยู่ในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีการหยุดชะงักทางด้านเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ ก็ตามแต่ความจำเป็นในการพัฒนาทางอิเล็กทรอนิกส์คงมีความสำคัญสูงที่จะต้องพัฒนาต่อไป
ช่างเทคนิคอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเลือกทำงานได้ทั้งประกอบอาชีพอิสระ เช่น รับซ่อมอุปกรณ์หรือระบบไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รับราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตหรือภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือเป็นลูกจ้างของสถานประกอบกิจการทั่วไป เป็นต้น

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
       ผู้ที่รับราชการ หรือเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจจะเลื่อนขั้นเงินเดือน และตำแหน่งตามกฎระเบียบที่วางไว้ส่วนงานเอกชนนั้นเมื่อระยะเวลากทำงานเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความสามารถและชำนาญงานก็จะได้เลื่อนตำแหน่ง งานและเงินเดือนสูงขึ้นตาความสามารถและประสบการณ์นอกจากนี้ยังสามารถหารายได้พิเศษ โดยรับซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่นโทรทัศน์ วิทยุ
ผู้มีพื้นฐานช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Technicians สามารถฝึกเพิ่มเติมฝีมือในหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือในสถาบันพัฒนาฝีมือ แรงงาน ช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Techniciansเป็นอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการมาก เนื่องจากกระบวนการทำงาน และกระบวนการผลิตจะเปลี่ยนไปในทางการควบคุมแบบอัตโนมัติซึ่งต้องใช้การควบคุมที่แน่นอน และแม่นยำจึงต้องอาศัยอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าไปช่วยในการควบคุม

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
         พนักงานขาย ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อมไฟฟ้า ช่างเครื่องกล ช่างซ่อมวิทยุ ช่างซ่อมโทรทัศน์ หัวหน้าควบคุมการทำงาน ช่างเทคนิค พนักงานควบคุมการทำงานเครื่องจักร ช่างซ่อมเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น