วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รวมเทคนิคต่างๆของเครื่องเสียง

รวมเรื่องเครื่องเสียง
เอาใจคนรักเครื่องเสียง
      เอาใจคนรักเครื่องเสียครับ รวมเรื่องดีๆสำหรับเครื่องเสียงไว้ครับแล้วมีถ้ามีข่าวสารดีๆเกี่ยกับเครื่องเสียงก็จะนำมาอัปเดตในกับเพื่อนช่างไปเลื่อยๆครับ พอดีมีคนขอมาครับผมก็เลยจัดไปให้ครับ เพื่อนช่างที่อ่านบล็อกนี้แล้วหากมีข้อเสนอแนะหรือข่าวสารดีๆก็นำมาอัปเดตกันบ้างนะครับ...

เทคนิคการติดตั้งเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ สำหรับนักเล่นมือใหม่
      งานติดตั้งเครื่องขยายนั้น อาจจำเป็นต้องใช้ทักษะรวมกับคุณสมบัติด้านสร้างสรรค์มากกว่าการติดตั้งเครื่องเล่นวิทยุ เพราะต้องมีการกำหนดตำแหน่งที่จะติดตั้งเอาเอง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปนัก และด้วยพลังพิเศษจากเพาเวอร์แอมป์ ท่านจะเร่งความดังเครื่องได้มากขึ้น โดยเสียงที่ได้มีความสะอาดเป็นธรรมชาติมากขึ้นด้วย


เครื่องมือที่ต้องจัดเตรียม
- สว่าน และ ชิ้นอุปกรณ์ประกอบ
- ไขควงและสกรู
- สายรัด และเครื่องมืดบีบหัวต่อสาย
-หัวต่อสายขนาดต่าง ๆ
-สายไฟแรงดัน สายไฟกราวน์ สายไฟรีโมท และสายลำโพง
-หัวแร้ง ตะกั่วบัดกรี

วิธีการติดตั้งเพาเวอร์แอมป์

1. การวางแผน เลือกกำหนดที่ตั้งเพาเวอร์แอมป์ของท่านตามที่ตั้งใจไว้ และให้ถูกหลักของการระบายความร้อน และควรจะต้องมีพื้นที่ในด้านต่าง ๆ พอเพียงเพื่อทำการเชื่อมต่อ และการเดินสาย และปรับแต่ง ให้เป็นไปได้อย่างสะดวก การกำหนดที่ตั้งของเพาเวอร์แอมป์ที่เหมาะสมได้แก่ บริเวณใต้เบาะที่นั่งด้านหน้า บริเวณผนังที่วางเท้าด้านหน้า หรือในห้องสัมภาระท้ายรถ

2. การยึดติดเพาเวอร์แอมป์ ควรนำตัวเครื่องไปวางทาบในบริเวณที่ต้องการติดตั้ง และทำเครื่องหมายบริเวณที่จะทำการยึดสกรูเอาไว้ก่อน จากนั้นจึงเจาะรูสำหรับยึดสกรู พร้อมตรวจเช็คความแน่นหนาหลังยึดสกรูเพาเวอร์แอมป์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

3. การเดินสายเพาเวอร์แอมป์ ก่อนการเดินสายใด ๆ ในรถ ให้ท่านปลดสายเชื่อมแบตเตอรี่ที่เป็นลบ (กราวน์) ออกจากขั้วแบตเตอรี่เสียก่อน ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงของผลกระทบกับระบบไฟฟ้าของรถยนต์ โดยมีสายสำคัญ 3 ส่วนที่ต้องเอาใจใส่ ดังนี้
- สายเกี่ยวกับระบบไฟ : สายไฟ สายกราวน์ สายรีโมท ควบคุมการเปิด/ปิด เป็นแหล่งพลังไฟให้กับเพาเวอร์แอมป์
- สายในส่วนอินพุท : สายนำสัญญาณ RCA ซึ่งเป็นสายนำสัญญาณจากเครื่องรับวิทยุ / ซีดีไปยังเพาเวอร์แอมป์
- สายในส่วนเอาท์พุท : เป็นสายนำกระแสเสียงจากเพาเวอร์แอมป์ไปยังลำโพง เพาเวอร์แอมป์ ส่วนใหญ่จะไม่ได้มีสายไฟสำคัญต่าง ๆ มาให้ ซึ่งในการติดตั้งเพาเวอร์แอมป์เพียงตัวเดียวในระบบ ท่านสามารถซื้อสายต่าง ๆ เหล่านี้ได้จากร้านประดับยนต์

**** ส่วนของพลังงาน ****
-สายไฟแรงดัน สายไฟแรงดันจะเริ่มเดินจากแบตเตอรี่ของรถยนต์ไปจนถึงเพาเวอร์แอมป์ ควรมีขนาดของเส้นทองแดงที่เพียงพอกับจำนวนรวมของกระแสไฟที่จะไหลผ่านมันโดยตรงจากขั้วบวกของแบตเตอรี่ ซึ่งไม่น่ามีขนาดเล็กกว่าเบอร์ 10 gauge ซึ่งท่านอานต้องใช้สายไฟแรงดันในเบอร์ 8,4,2 gauge ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยาวของสายที่ใช้ ความต้องการกระแสของเพาเวอร์แอมป์ สำหรับตัวอย่างของสายเบอร์ 10 นั้นจะพอเพียงสำหรับเพาเวอร์แอมป์ที่มีขนาดกำลังขับ 50 วัตต์ x 2 หรือ 25 วัตต์ x 4 สำหรับการติดตั้งขั้วด้านบนของแบตเตอรี่โดยทั่วไปจะมีครอบมาตรฐานที่ทำเป็นแหวน เมื่อท่านเริ่มต่อสายไปยังขั้วต่อต่าง ๆ ให้เดินสายผ่านภายในของรถยนต์ไปยังเพาเวอร์แอมป์ โดยท่านจะต้องถอดกาบข้างประตู ยกพรมปูพื้นออก เพื่อที่จะสามารถซ่อนสายต่าง ๆ ไว้อย่างแนบเนียน ถ้าเพาเวอร์แอมป์ของท่านอยู่ในห้องสัมภาระท้ายรถ ท่านจะต้องถอดเอาที่นั่งข้างหลังออกด้วย เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อสายต่าง ๆ ไปยังเพาเวอร์แอมป์ด้วยหัวขั้วต่อสายแบบหางปลา และต่อเชื่อมกับเพาเวอร์แอมป์ โดยการขันสกรูให้แน่นหนา เพาเวอร์แอมป์บางเครื่องอาจใช้การปลอกปลายสายเปล่า ๆ เสียบกับสกรู สายไฟแรงดันจะต้องเดินผ่านไปยังพื้นรถภายในโดยผ่านทางผนังห้องเครื่อง วิธีที่สะดวกที่สุดก็คือ การลอดสายไฟนั้นผ่านไปทางรูที่มีบริเวณผนังห้องเครื่องที่เป็นตำแหน่งเดียวกับกลุ่มสายไฟของรถยนต์ใช้อยู่ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ก็จะต้องมีการเจาะรูขึ้นใหม่ ซึ่งต้องมีการเอาใจใส่อย่างยนิ่งโดยการใช้วงแหวนยางกันเอาไว้รอบ ๆ สายไฟ ในตำแหน่งที่เจาะรู เพื่อป้องกันไม่ให้สายไฟเกิดการถูไถกับขอบโลหะที่แหลมคมของรูที่เจาะไว้
-สายลงกราวน์ (ดิน) จะต้องทำการจยึดติดกับพื้นโลหะเปล่าของตัวถังรถ และต้องมีขนาดเบอร์สายเดียวกับสายไฟแรงดัน (หรือใหญ่กว่า) บริเวณที่ทำเป็นสลักเกลียวหรือสกรูเพื่อเชื่อมติดกับตัวถังรถจะต้องอยู่ใกล้ ๆ กับเพาเวอร์แอมป์ และขูดเอาสีที่เคลือบเอาไว้ออกให้หมดจนเห็นเนื้อเหล็กขาวสะอาด ปลายของสายไฟกราวน์อาจทำให้เป็นแหวนเพื่อวางมันให้แนบกับพื้นรถ และยึดสลักเกลียวหรือสกรูให้แน่นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สายลงกราวน์มีส่วนสำคัญในเรื่องการป้องกันเสียงรบกวน ซึ่งควรที่จะลงสายกราวน์ของอุปกรณ์แต่ละตัวที่อยู่ใกล้ ๆ กันในจุดเดียวกันทั้งหมด ตำแหน่งที่ใช้เป็นจุดลงกราวน์นั้นควรที่อยู่ใกล้กับพื้นรถมากที่สุด และเรียงลำดับอัตราการกินกระแสจากมากไปหาน้อย คือ ลงแหวนกราวน์ของอุปกรณ์ที่กินกระแสมากสุดไว้ล่างสุด และลงแหวนกราวน์ของอุปกรณ์ที่กินกระแสน้อยสุดไว้บนสุดตามลำดับ

****หมายเหตุ สายดินหรือสายไฟกราวน์จะต้องสัมผัสกับโลหะเท่านั้น ไม่สามารถใช้แผ่นพื้นอลูมิเนียมและบริเวณหน้าปัดไฟเบอร์กลาสเป็นจุดลงกราวน์ได้****
- สายรีโมท เพาเวอร์แอมป์ส่วนใหญ่จะมีวงจรเปิด/ปิดเครื่องอัตโนมัติ ท่านจึงสามารถเชื่อมต่อสายรีโมทจากเพาเวอร์แอมป์ไปยังรีโมทออกของเครื่องรับวิทยุ/ซีดี หรือที่สายควบคุมเสาอากาศ ซึ่งจะมีผลทำให้เพาเวอร์แอมป์เริ่มทำงานเมื่อเครื่องรับวิทยุ/ซีดีถูกเปิดใช้งาน และจะหยุดการทำงานเมื่อเครื่องรับวิทยุ/ซีดี ถูกปิดลง
-สายลำโพง เพื่อส่งสัญญาณเสียงไปยังลำโพง เชื่อมโยงระหว่างจุดต่อสายลำโพงที่เพาเวอร์แอมป์กับขั้วสายลำโพงที่ตัวลำโพง หรือกล่องพาสซีฟ โดยมาตรฐานแล้วมักใช้หัวต่อแบบหางปลาในระหว่างหัวจุดต่อที่เพาเวอร์แอมป์ และจุดต่อที่พาสซีฟครอสโอเวอร์ ส่วนจุดต่อไปยังขั้วสายลำโพงที่ตัวลำโพงเรามักจะใช้วิธีการบัดกรีโดยตรงเพื่อความมั่นคงแน่นหนา
**** ข้อพึงระวังประการหนึ่งในการเชื่อมต่อสายลำโพง ไม่ควรให้ส่วนที่เป็นเส้นทองแดงภายในสัมผัสกับตัวถังรถโดยเด็ดขาด เพราะอาจส่งผลย้อนไปทำความเสียหายให้กับเพาเวอร์แอมป์ได้****


มารู้จักประเภทของตู้ซับกัน

      เพื่อที่จะให้ได้พลังเสียงเบสที่หนักแน่น การประกอบลำโพงเข้ากับตู้ลำโพงจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความพิถีพิพันเป็นพิเศษ ตู้ลำโพงที่ใช้กับลำโพงซับวูฟเฟอร์นั้นมีแบบตู้ปิด (SEALED) , แบบมีท่อ (VENTED) , และแบบแบนพาส (BANDPASS) ซึ่งเรื่องขนาดของตู้จะต้องคำนวณด้วยซอร์ฟแวร์เฉพาะ โดยการที่จะได้เบสที่กระชับแม่นยำ และ คงเสถียรภาพที่ดีนั้นจะขึ้นอยู่กับการออกแบบตู้ลำโพงเป็นหลัก ซึ่งไม่เกี่ยวกับปริมาตรของเนื้อที่ใช้สอยภายในรถยนต์


      SEALED ENCLOSURES -- ในแวดวงของการติดตั้งลำโพง เป็นที่ยอมรับกันว่าลำโพงแบบตู้ปิดหรือ SEALED ENCLOSURES เป็นลำโพงที่นิยมที่สุด โดยสามารถควบคุมการขับกำลังวัตต์ของลำโพงได้สูงกว่าตู้ลำโพงแบบอื่น หรือเรียกได้ว่าสามารถให้เสียงที่มีความดังระดับ SPL ได้ โดยต้องเลือกขนาดของตู้
ลำโพงให้เหมาะสมกับการใช้งาน อย่างไรก็ตาม เรื่องของกำลังวัตต์ ก็เป็นเรื่องที่สำคัญทื่จะทำให้ลำโพงมีสมรรถนะได้ ดังนั้นจากมุมมองทางวิศวกรรม ลำโพงแบบตู้ปิด จึงได้ชื่อว่าเป็นการออกแบบที่ " SIMPLE IS BETTER" (ยิ่งเรียบง่ายยิ่งดี)

      VENTED ENCLOSURES (BASS REFLEX) - - ตู้ลำโพงแบบมีท่อ (VENTED ENCLOSURE) คือตู้ลำโพงที่ให้ความสมดุลที่ดีระหว่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ โดยท่อของตู้ลำโพงเป็นตัวกรอง (FILTER) ทางเสียงให้กับลำโพง อย่างไรก็ตามตู้ลำโพงแบบท่อนี้ จะใช้พื้นที่ในการติดตั้งที่มากกว่าแบบตู้ปิด เนื่องจากส่วนของท่อนั้นถือได้ว่าเป็นทางให้สัญญาณเสียงออกอีกทางหนึ่ง ข้อดีของตู้ลำโพงแบบนี้ คือสามารถให้ความถี่เสียงเบสที่ต่ำกว่าตู้ลำโพงแบบอื่น พร้อมทั้งมีประสิทธิภาพในการตอบสนองความถี่ที่ดี แต่ก็ต้องอาศัยการออกแบบที่ดี เพื่อให้ตัวแปรที่มีผลต่อเสียง เช่น ตัวตู้ลำโพง ลำโพง และท่อสอดผสานกันอย่างลงตัว ถึงแม้การออกแบบจะมีความซับซ้อน แต่ตู้ลำโพงแบบนี้ก็เป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะการนำ ไปใช้ออกแบบลำโพงอย่างเสียงต่ำในรถยนต์

      4 TH-ORDER BAND PASS ENCLOSURES -- ตู้ลำโพงแบบ 4 TH-ORDER BAND PASS คือตู้ลำโพงปิดที่มีการเพิ่มท่อด้านหน้าลำโพง ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกรองเสียง ( ACOUSTICAL FILTER) กับตู้ลำโพงแบบปิดธรรมดา แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเสียงก็คือจะต้องใช้พื้นที่มาก ดังนั้น จึงมีการประยุกต์ระบบ 4TH- ORDER BAND PASS ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการออกแบบมากกว่าตู้ลำโพงแบบปิด หรือแบบเบสรีเฟล็กซ์ เนื่องจากสามารถวางปริมาตรของตู้เทางด้านหน้า หรือด้านหลัง หรือเพิ่มลดขนาดของท่อได้ ทำให้สามารถระบุการตอบสนองความถี่รวมทั้งความไว (SENSITIVITY) ของระบบได้อย่างอิสระกว่า ตู้ลำโพงแบบปิด หรือแบบ เบสรีเฟล็กซ์ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังต้องอาศัยการปรับแต่งเสียงที่ดี เพื่อช่วยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ปรีแอมป์ จำเป็นไหมสำหรับระบบเครื่องเสียงรถยนต์
มารู้จักปรีแอมป์กันเถอะ

คนรักรถ และเครื่องเสียงบางคนคงเคยสงสัยว่า ปรีแอมป์ จำเป็นกับระบบเครื่องเสียงรถยนต์หรือไม่ ก่อนที่จะรู้คำตอบ เรามารูถึงความหมายของคำว่าปรีแอมป์ก่อนดีกว่า คำว่า ปรีแอมป์ มาจากคำในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึงตัวอุปกรณ์ที่ต่ออยู่ก่อนป้อนสัญญาณเข้าเพาเวอร์แอมป์ หรือตำราวิชาการบางเล่มถอดความได้ว่าภาคขยายส่วนหน้า โดยความเป็นจริง ปรีแอมป์นี้จัดอยู่ในหมวดภาคขยายเช่นกัน เพียงแต่ว่าระดับสัญญาณที่ขยายได้นั้น ยังมีอิพีแดนซ์สูงกว่าลำโพง ดังนั้นจึงไม่สามารถนำสัญญาณที่ได้ออกมาจากปรีแอมป์นี้มาขับลำโพงได้โดยตรง ต้องผ่านเพาเวอร์แอมป์เสียก่อน

หน้าที่หลัก ๆ ของปรีแอมป์จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการคือ

- ทำหน้าที่ขยายสัญญาณในระดับต่ำเพื่อให้มีระดับที่เหมาะสมสำหรับการป้อนสู่ภาคขยายอื่น ๆ ต่อไป รวมถึงการทำตัวเป็นวงจรบัฟเฟอร์ (กันชน) เพื่อเชื่อมโยงอุปกรณ์ทางเสียงที่อิมพีแดนซ์หรือความต้านทานภายในต่างกันให้ทำงานร่วมกันได้

- ทำหน้าที่ขยายสัญญาณพร้อมการปรับแต่ง และ การปรุงแต่งเสียงซึ่งอาจกำหนดให้มีการขยายระดับสัญญาณให้สูงขึ้น หรือไม่มีการขยายสัญญาณก็ได้

เมื่อพิจารณาจากหน้าที่หลักทั้ง 2 ประการนี้แล้ว ก็พอจะสรุปได้ว่าเมื่อมีสัญญาณออกมาจากหัวอ่านซีดีแล้ว ก็จะส่งผ่านมาทางปรีแอมป์ภายในตัวเฮดยูนิตหรือวิทยุก่อนชุดหนึ่ง ซึ่งมักเป็นปรีแอมป์ที่ทำการขยายให้สัญญาณนี้ให้มีระดับพอเหมาะ เพื่อที่จะส่งผ่านไปยังภาคอื่น ๆ ต่อไป ที่มีภาพ TONE CONTROL หรือปรุงแต่งเสียงบรรจุอยู่ด้วย เพื่อจะได้ทำการปรับแต่งเสียงทุ้ม/แหลมและอื่น ๆ

ปรีแอมป์ที่จะพูดถึงในบทความนี้จะหมายถึงปรีแอมป์ภายนอกเฮดยูนิต อันหมายถึงอุปกรณ์เครื่องเสียงติดรถยนต์อีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปจะมีขนาด 1 DIN ภายนอกจะมีปุ่มปรับความถี่ยกทุ้ม กลาง แหลม ดังนั้น หลาย ๆ ท่านที่เริ่มติดเครื่องเสียงรถยนต์ใหม่ ๆ และชอบเปิดอัด หรือ ชอบแต่งเสียงจึงขาดปรีแอมป์เอาไม่ได้เลย แถมอยากรู้ว่า มันจะมีประโยชน์อะไรเพิ่มเติมขึ้นได้บ้าง หากได้ทำการติดตั้งปรีแอมป์เข้าไปในระบบเสียง


ประโยชน์ของปรีแอมป์


      ในตัวปรีแอมปืที่ทำออกมาขายแยกต่างหากนี้ มักจะมีภาคประกอบทางเสียงอื่น ๆ บรรจุอยู่ด้วย อาทิเช่น วงจรชดเชยความถี่ที่ทำให้ย่านความถี่เสียงแต่ละย่านมีระดับเสียงที่สม่ำเสมอกัน ก่อนที่จะป้อนเข้าสู่วงจรปรับแต่ง / ปรุงแต่งเสียง ที่เรียกกันว่าปุ่มปรับ BASS / TREBLE ซึ่งแน่นอน ด้วยเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เสียงที่ได้ยินนุ่มนวลขึ้นกว่าเดิม สำหรับเพาเวอร์แอมป์รุ่นใหม่ ๆ นั้น มักจะมีความต้องการทางด้านกระแสสัญญาณอินพุทที่มากขึ้น เนื่องจากสภาพการทำงานของเพาเวอร์แอมป์รุ่นใหม่ ๆ สูงขึ้น แต่ในบางครั้งสัญญาณจากเฮดยูนิตที่ให้ออกมานั้นมีระดับต่ำเกินสำหรับการทำงานที่เต็มประสิทธิภาพของเพาเวอร์แอมป์ แม้ว่าจุดอินพุทของเพาเวอร์แอมป์จะมีปุ่มปรับความไวอินพุทมาให้ด้วยก็ตาม ดังนั้น การใช้ปรีแอมป์เสริมเข้าไปในระบบ ช่วยปรับให้ระดับสัญญาณที่จะนำไปป้อนเข้ากับเพาเวอร์แอมป์นั้นสูงขึ้น หรือมีระดับที่เหมาะสมอย่างแท้จริงกับการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพของเพาเวอร์แอมป์ ดังนั้นสังเกตุเห็นได้ว่าในระบบที่มีการใช้ปรีแอมป์แยกทางนี้ให้เสียงได้โปร่ง และไม่อับทึบเลยแม้แต่น้อย นั่นเป็นเพราะว่าเพาเวอร์แอมป์ได้รับขนาดสัญญาณที่เพียงพอ และเหมาะสมที่จะอำนวยให้ภาคขยายในตัวเพาเวอร์แอมป์ทำงานที่ระดับประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งยังช่วนให้ความร้อนสะสมภายในตัวเพาเวอร์แอมป์ลดลงอีกด้วย


ทุกส่วนในระบบเสียง สิ่งที่นักเล่นมือใหม่ควรรู้ 


      ฉบับนี้ ทีมงานมีเรื่องราวเกี่ยวกับระบบเครื่องเสียงมาฝากกัน เน้นทำความรู้จักทั้งประเภท และประสิทธิภาพของอุปกรณ์แต่ละชิ้น ว่ามีความสำคัญต่อระบบเสียงอย่างไร ซึ่งบางชิ้นอาจไม่ต้องใช้ในบางระบบ ทั้งนี้ เน้นการใช้งานจริง แบบคุ้มค่า คุ้มราคากัน

      ฟรอนท์เอนด์ หลาย ๆ คนชอบถามว่า จะเลือฟรอนท์เอนด์แบบไหน ยี่ห้อไหนดี จริง ๆ แล้ว เทคโนโลยีด้านฟรอนท์เอนด์เรียกว่าเกือบจะถึงขีดสุดแล้ว จึงไม่ต้องกังวลเรื่องยี่ห้อ แต่ควรจะเลือกให้ตรงกับความชอบมากกว่า ถ้าคุณชอบเล่นเทป ก็เลือกวิทยุ/เทป ถ้าชอบซีดี ก็เลือกวิทยุ/ซีดี ถ้าชอบทั้ง 2 อย่างก็เลือกแบบ 2 DIN ที่เล่นได้ครบ

      เทรนด์ตอนนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ คนที่ชอบฟังเพลง จะเน้นที่วิทยุ/ซีดี ที่เล่น MP3 ได้ด้วย ส่วนคนชอบหนังก็จะเลือกวิทยุ/ วีซีดี หรือ ดีวีดี ซึ่งต้องเพิ่มในส่วนของจอภาพขึ้นมาด้วย สิ่งที่ต้องรู้คือ ฟรอนท์เอนด์รุ่นนั้นเล่นอะไรได้บ้าง มีกำลังขับในตัวหรือเปล่า มีพรีเอาท์กี่แชนแนล กำลังขับมีความสำคัญสำหรับคนที่ต้องการเล่นแบบไฮเพาเวอร์ คือไม่ต่อแอมพ์ ส่วนพรีเอาท์เป็นช่องต่อสัญญาณสำหรับระบบที่ต่อแอมพ์ ฟรอนท์มักไม่มีปัญหาด้านการติดตั้ง ด้วยขนาดที่เป็น 1 DIN มาตรฐาน จะลงได้ที่ช่องเดิมของรถเกือบทุกรุ่น ส่วนแบบ 2 DIN ต้องดูให้ดีว่าช่องเดิมเป็นขนาด 2DIN หรือเปล่า สำหรับเรื่องรูปร่างหน้าตา ชอบแบบไหน ไม่มีข้อจำกัด ขึ้นอยู่กับงบประมาณ

      พรีแอมป์/อีคิว จัดเป็นอุปกรณ์เพิ่มเติมที่ได้รับความนิยมโดยเฉพาะนักเล่นที่ชอบปรับแต่งเสียง ใช้ได้เฉพาะกับระบบที่มีเพาเวอร์แอมป์เท่านั้น สิ่งที่ควรรู้คือ ชุดพาราเมทริค โดยทั่วไปจะมีให้ 4 แบนด์ คือ เสียงเบส / มิดเบส/ กลาง / แหลม ถ้ามีมากกว่าก็จะยิ่งดี ปรับได้ละเอียดขึ้น เกือบทุกค่ายจะเพิ่มครอสส์โอเวอร์ และปุ่มปรับเสียงเบส มาให้ด้วย ก็จัดได้ว่าเป็นข้อได้เปรียบทีเดียว ยิ่งลูกเล่นมาก ราคาก็สูงตาม ถัดมาเป็น อีควอไลเซอร์ ปัจจุบันไม่ค่อยมีให้เห็นกัน เพราะนักเล่นเน้นสัญญาณบริสุทธิ์มากกว่าการปรับแต่งเสียง แต่ในระบบใหญ่ ๆ จะช่วยให้ปรับแต่งเสียงได้ละเอียดลงตัวมากขึ้นทีเดียว ที่เคยเห็นจะมีตั้งแต่ 10-30 แบนด์ ส่วนมากจะปรับตายตัว และติดตั้งไว้กับแอมป์ด้านท้ายรถ ซึ่งสามารถกลับไปปรับแต่งได้ ควรให้ผู้ชำนาญปรับแต่งเสียง

      ครอสโอเวอร์ เป็นตัวตัดสัญญาณ ใช้เฉพาะกับระบบที่มีเพาเวอร์แอมป์ มีให้เลือกทั้งแบบ 2/3 ทาง ช่วยให้เลือกจุดตัดได้เป็นช่วงกว้างตามต้องการ โดยเฉพาะลำโพงแบบยูนิท ซึ่งหากเลือกจุดตัดได้เหมาะสมกับสภาพอคูสติคในรถ และประสิทธิภาพลำโพง ก็จะได้เสียงที่ราบรื่นมากขึ้น ปัจจุบันเพาเวอร์แอมป์ และพรีแอมป์มีครอสโอเวอร์ในตัว ทำให้ครอสโอเวอร์ลดความนิยมลง จะมีให้เห็นก็เฉพาะกับระบบใหญ่ ๆ หรือเพื่อแข่งขัน การติดตั้งครอสโอเวอร์ ก็จะอยู่ใกล้ ๆ กับอีควอไลเซอร์ ด้านท้ายรถ ควรให้ช่างผู้ชำนาญปรับจุดตัดให้

      เพาเวอร์แอมป์ สำหรับ นักเล่นที่ฟังไฮเพาเวอร์จนถึงจุดอิ่มตัว เพาเวอร์แอมป์ จะเข้ามามีบทบาททันที สังเกตได้จากการเพิ่มวอลูม มาก ๆ ในระบบไฮเพาเวอร์ เสียงจะผิดเพี้ยนไม่ได้ดังใจ นั่นเป็นเพราะกำลังขับไม่เพียงพอ สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเพาเวอร์แอมป์ คือประเภท และกำลังขับ ประเภทคือจำนวนแชนแนล มีให้เลือกทั้งบ 1/2/3/4/5/6/7 แชนแนล ที่นิยมจะเป็น 2 และ 4 แชนแนล จะมีผลต่อจำนวนของลำโพง เช่นแอมป์ 2 แชนแนล เหมาะกับลำโพง 1 คู่ หรือ 2 ข้าง

      ส่วนกำลังขับ ให้ดูกำลังขับต่อแชนแนลแบบต่อเนื่อง ( RMS : ROOT MEAN SQUARE) เช่น แอมป์ 4 แชนแนล 50 วัตต์/แชนแนล หรือ 50 วัตต์ x 4แชนแนล ตัวเลขวัตต์ ควรให้ตรงกับชุดลำโพงที่ขับ เช่น ลำโพง 150 วัตต์ 1 คู่ ควรใช้แอมป์ 50-80 วัตต์ x2 แชนแนล ( วัตต์ รวม 100-160 วัตต์ ) ไม่ควรนำตัวเลขสูงสุด มาเป็นตัวเลือก ที่ยากขึ้นมาอีกขั้น เป็นการเลือกแอมป์ขับซับวูฟเฟอร์ ถ้าเป็นแอมป์ทั่วไป ให้ดูกำลังขับต่อเนื่องว่าเพียงพอหรือเปล่า เช่น แอมป์ 150 วัตต์ x 2 ขับซับวูฟเฟอร์ 150 วัตต์ 1 คู่ได้ แต่ถ้าไม่พอให้ดูกำลังขับบริดจ์โมโน เช่น แอมป์ 50 วัตต์ x 2 บริดจ์โมโนได้ 150 วัตต์ สามารถ บริดจ์โมโนขับวูฟเฟอร์ 150 วัตต์ ได้ 1 ข้าง แต่ถ้าเป็นแอมป์ขับซับโดยเฉพาะ เช่น CLASS D จะเป็นแบบ MONO BLOCK คือ แชนแนลเดียว ดูแค่กำลังขับอย่างเดียว เช่น แอมป์ CLASS D 500 วัตต์ ขับซับวูฟเฟอร์ 500 วัตต์ ได้ 1 ข้าง ที่สำคัญต้องดูที่ความต้านทานเท่ากันด้วย ปิดท้ายด้วยแอมป์มัลติแชนแนล ใช้เรียกแอมป์ 5 แชนแนลขึ้นไป แอมป์ ประเภทนี้จะออกแบบมาให้ขับได้ทั้งระบบเช่น 50 วัตต์ x 4 + 250 วัตต์ ขับลำโพง 100 วัตต์ ได้ 2 คู่ และซับวูฟเฟอร์ 250 วัตต์ 1 ข้าง ข้อดีคือ ไม่ยุ่งยากทั้งการเซทระบบ พื้นที่การติดตั้งการปรับแต่งเสียง อีกทั้งนำมาขับระบบ 5.1 CH ได้ เพื่อดูหนังเต็มรูปแบบ

      ลำโพง คุณสามารถเปลี่ยนลำโพงได้ทันทีที่ต้องการ เพื่อให้เสียบงดีขึ้น โดยต้องคำนึงถึงตัวเลขวัตต์ เครื่องเสียงติดรถมา ในบางครั้งเสียงไม่ถูกใจ อาจเป็นเพราะลำโพงมีขนาดเล็ก อยู่ในมุมอับ เสียงเบสออกน้อย หรือแหลมเกินไป สามารถแก้ไขขั้นต้นได้โดยการเปลี่ยนลำโพงคู่หน้า ซึ่งฟรอนท์เอนด์จะมีกำลังขับเพียงพอที่จะขับได้แบบฟังสบายอยู่แล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นตำแหน่งติดตั้งมากกว่า สิ่งที่ควรรู้คือ ขนาด และตัวเลขยวัตต์ หรือทนกำลังขับ ขนาดก็คือ เส้นผ่าศูนย์กลางของตัวลำโพงดอกใหญ่ ส่วนตัวเลขวัตต์ให้ดูที่วัตต์ต่อเนื่องหรือปกติ ( CONTINUE , NORMAL)

      ลำโพงแยกชิ้น (COMPONENT) 2 ทาง จัดเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมที่สุด มีให้เลือกตั้งแต่ขนาด 4 นิ้ว - 8 นิ้ว ขนาดพอเหมาะจะเป็น 6 นิ้ว - 6.5 นิ้ว ส่วนทวีตเตอร์ขนาด 3/4 -1 1/2 นิ้ว โดยจะมีตัวพาสซีส ครอสโอเวอร์ตัดเสียงมาในเซทเดียวกัน ซึ่งจะมีแมนนวลในการต่อสายมาให้ครบชุด ถัดมาเป็นลำโพงแนร่วม (COAXIAL) ให้ความสะดวกในการติดตั้ง มีให้เลือกทั้งแบบดอกกลม และรูปไข่ ที่ได้รับความนิยม มี 6 x9 ยิ่งพื้นที่กรวยมาก ก็ให้เสียงเบสได้ลึก ลำโพง 6x9 จึงได้รับความนิยมติดเป็นคู่หลัง สำหรับนักเล่นที่ไม่ต้องการติดซับวูฟเฟอร์

      ซับวูฟเฟอร์ เป็นลำโพงดอกใหญ่สำหรับเสียงเบสโดยเฉพาะ มีให้เลือกตั้งแต่ 6 นิ้ว 8 - 10 -12-15 นิ้ว รวมถึงแบบ 4 และ 6 เหลี่ยม ทั้งแบบพร้อมตู้ กับมีแอมป์ในตัว นักเล่นมือใหม่หลายคนถามว่าจำเป็นหรือเปล่า ถ้าคุณไม่ฟังเสียงเบสลึก ๆ หรือฟังดัง วูฟเฟอร์ 6 นิ้ว ก็เอาอยู่ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมมากกว่า ที่สำคัญต้องหาที่ให้มันอยู่ ยิ่งถ้าเป็นตู้ก็จะดี สิ่งที่ควรรู้เป็นขนาด ตัวเลขวัตต์ และพื้นที่ติดตั้ง บางคนซื้อซับ 12 นิ้วมา 1 คู่ ไม่รู้ว่าจะติดตรงไหน ความสามารถพิเศษของซับวูฟเฟอร์ คือ สามารถต่อเล่นได้ที่ความต้านทานโอห์มต่าง ๆ กัน เพื่อเค้นพลังเสียงเบส อีกอย่างที่สำคัญ เป็นจุดตัดความถี่โลว์พาสส์ เพื่อให้มันทำงานในช่วงเสียงเบสลึก ๆ โดยเฉพาะ และต้องสัมพันธ์กับลำโพงวูฟเฟอร์ด้วย เช่น ตัดความถี่โลว์พาสซับวูฟเฟอร์ที่ 250 Hz ควรตัดไฮพาสที่วูฟเฟอร์ 250 วัตต์ เช่นกัน

      อุปกรณ์เสริม ปิดท้ายด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เริ่มจาก สายฟรี หรือสาย RCA ใช้ต่อสัญญาณโลว์เลเวล ร่วมกันระหว่าง ฟรอนท์ พรีแอมป์ อีคิว ครอสโอเวอร์ และเพาเวอร์แอมป์ ควรดูความยาวระหว่างอุปกรณ์ที่จะเชื่อมต่อ สิ่งที่ควรรู้ หากขั้วแจคหลวม เสียงจะขาด ๆ หาย ๆ หรือหายไปเลย สายลำโพง ใช้ต่อจากฟรอนท์ไปยังลำโพง หรือจากแอมป์ ไปลำโพง เลือกสายให้ยาวพอดี สิ่งที่ควรรู้คือ ขั้วบวก/ขั้วลบ อย่าให้สลับกัน ถ้าเป็นสายธรรมดา ประมาณ 1- 2 ปี จะเกิดสนิม


คาปาซิเตอร์ใส่ไว้ทำไม
เรื่องของ คาปาซิเตอร์ หรือ แคปปาซิเตอร์



      คาปาซิเตอร์ หรือ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้า ทำหน้าที่เหมือนหม้อพักเก็บสำรองพลังงานไฟฟ้า ตัวเก็บประจุเปรียบเหมือนแบตเตอรี่อีกตัวที่มีความต้านทานต่ำ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าในช่วงสั้น ๆ ได้อย่างมหาศาล ตัวเก็บประจุถือเป็นอุปกรณ์เสริมในการติดตั้งเครื่องเสียงตัวหนึ่ง ถ้ามีงบเหลือหรือลงทุนได้ก็ควรติดว้ สำหรับระบบเล็ก ๆ ที่มีเฉพาะเฮดยูนิตอย่างเดียว อาจเริ่มที่ค่า 0.5 ฟารัด ( 500,000 ไมโครฟารัด) สำหรับระบบที่ติดเพาเวอร์แอมป์ขยายเพิ่ม หรือเพ่มซับวูฟเฟอร์ อาจเริ่มที่ค่า 1.0-1.5 ฟารัด ( 1,000,000-1,500,000 ไมโครฟารัด) จะช่วยรักษาเสถียรภาพแรงดันไฟเพ่มกำลังสำรองชั่วขณะได้

      การจะดูว่าระบบเครื่องเสียงเราจำเป็นจะต้องต่อตัวเก็บประจุใส่ไว้หรือไม่ ก็อาจลองเช็คดูได้ครับ โดยการวัดไฟเลี้ยงในระบบขณะติดเครื่องยนต์ปกติจะมีแรงดันประมาณ 13-14 โวลต์ ขณะดับเครื่องจะมีแรงดันประมาณ 12-13 โวลต์ ลองเปิดเครื่องเสียง เลือกเพลงที่เบสหนัก ๆ เปิดเสียงเต็มที่ จะสังเกตว่าแรงดันไฟเลี้ยงมันจะแกว่งขึ้นลง ตามความดันเสียงทุ้ม ถ้าพบว่าแรงดันตกลงต่ำกว่า 10 โวลต์ ขณะเปิดเสียงเต็มที่ก็ควรมองหาตัวเก็บประจุมาติดเพิ่มได้แล้ว

      ตัวเก็บประจุจะช่วยเก็บไฟในช่วงสั้น ๆ แต่จะไม่ช่วยในกรณีที่มีการโหลดกระแสอย่างต่อเนื่อง ถ้าเปิดเสียงดังต่อเนื่อง แล้วไฟจะตกลงเรื่อยๆ ก็คงต้องมาดูแหล่งจ่ายไฟหลัก ซึ่งก็คือ แบตเตอรี่ ว่าสามารถจ่ายกระแสหรือมีค่าแอมป์ชั่วโมงพอเพียงหรือไม่ รวมทั้งความต้านทานหรือขนาดของสายไฟที่ใช้เดินในระบบ ตรวจดูว่าจุดเชื่อมต่อสายไฟต่าง ๆ แน่นหนาใช้ได้หรือไม่

      ประโยชน์อีกอย่างของการใส่ตัวเก็บประจุนอกจากจะช่วยสำรองไฟแล้ว ในรุ่นที่มีมิเตอร์วัดระดับแรงดันไฟ จะช่วยให้เราทราบถึงพลังไฟฟ้าที่เหลืออยู่ว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้าฟังเพลงเพลิน ๆ จนแรงดันแบตเตอรี่ต่ำกว่า 10 โวลต์แล้ว ไฟอาจไม่พอให้สตาร์ตรถได้


ติดแอมป์ในรถแล้วต้องเปลี่ยนแบตด้วยอ่ะเปล่า
      เป็นคำถามที่เจอบ่อยมาก เหมือนจะเป็นปัญหาคลาสสิคไปแล้ว ถ้าจะให้อธิบายต้องสาธยายกันยาวสักหน่อย เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไปของปัญหานี้ดีกว่า (เครื่องเสียงรถยนต์ ง่ายนิดเดียว...) ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนสำหรับพื้นฐานเรื่องไฟฟ้า คือ

1.กระแสไฟ (ค่าเป็นแอมป์ A) กระแสไฟ ก็เปรียบเสมือนปริมาณน้ำที่ไหลผ่านท่อน้ำ ถ้าน้ำไหลผ่านมาก ก็หมายถึงใช้กระแสไฟสูงไงล่ะครับ

2.ค่าความต่างศักดิ์ (ค่าเป็นโวลต์ V) อันนี้รู้กันอยู่แล้วว่า ระบบไฟในรถใช้ 12 V ค่าตัวนี้เปรียบเหมือน แรงดันของท่อน้ำครับ ถ้าแรงดันมาก น้ำก็ไหลได้ดี ลองนึกดู ถ้าแรงดัน 14.4 V เสียงที่ได้จากแอมป์ จะดังกว่า แรงดัน 12 V (อ่ะ แน่นอน)

3.กำลัง (ค่าเป็นวัตต์ P) ค่าตัวนี้สามารถคำนวนได้จาก P=IV จะเห็นว่าแอมป์ที่ให้กำลังขับมาก ก็จะต้องใช้กระแสสูงตามไปด้วย สำหรับค่าวัตต์นี้ มักจะมีข้อถกเถียงอีกอย่างนึงคือ วัตต์สูงสุด (watt max) หรือวัตต์โม้ วัตต์เฉลี่ย (watt RMS) แล้วยังมีว่าวัดที่ค่าความต้านทานเท่าไรอีก อะไรก็แล้วแต่โปรดอย่าได้สับสน ผมมีหลักการง่ายๆ ในการเปรียบเทียบวัตต์ของแอมป์ คือ ไม่ควรนำค่าวัตต์สูงสุด มาเป็นค่าเปรียบเทียบกำลังวัตต์ของแอมป์ เพราะวัตต์สูงสุด ไม่สามารถบอกได้ถึงคุณภาพกำลังขับของแอมป์โดยรวมได้อย่างเที่ยงตรง ควรใช้ค่า RMS หรือวัตต์เฉลี่ย ซึ่งเป็นการนำค่ากำลังของเสียงในทุกย่านความถี่มาคำนวนหาค่ากำลังจากแอมป์ และควรเป็นค่าที่อ้างอิงที่ 4 โอมห์ ลำโพง และคำนวนที่ 12 โวลต์ เพื่อจะได้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน (การแปลงค่าวัตต์ RMS เป็นวัตต์ max ให้เอา 5 คูณครับ)

      คราวนี้มาทำความเข้าเกี่ยวกับ แบตเตอรี่ ก่อน แบตเตอรี่ที่ติดตั้งในรถยนต์ จะโชว์ค่าโวลต์ที่ 12 V แต่เวลาเราวัดไฟ จะได้ประมาณ13.8V และเมื่อใช่ไปนานๆ ค่าโวลต์จะตกลงเรื่อยๆ บางครั้งเหลือ 11.5 V เมื่อถึงตรงนี้หลายท่านจะเจอปัญหาสตาร์ทรถ ไม่ติด หรือเปิดเครื่องเสียงเวลาเบสลงหนักๆ ไฟหน้าปัดกระพริบวูบวาบ ยังมีค่าที่บอกมากับแบต อีกอันนึงคือ ความสามารถในการจ่ายกระแสไฟ (แอมป์ ฮาว AH) แบต ที่มีขนาดใหญ่จะมีค่าตัวนี้สูงกว่า แบตขนาดเล็ก เช่น 45 AH , 55AH, 65AH , 75AH เป็นต้น ค่าตัวนี้หมายถึงความสามารถในการจ่ายกระแสไฟจำนวนมาก (แอมป์ที่กำลังวัตต์สูงๆ จะต้องการกระแสไฟในปริมาณที่สูงด้วย) ทีนี้ปัญหาของแบตเตอรี่ก็คือว่าเมื่อเราใช้งานไปเรื่อยๆ (โดยทั่วไป 1-2ปีแบตจะเสื่อม) ความสามารถในการบรรจุกระแสไฟ หรือการจ่ายแอมป์จะน้อยลงเรื่อย โดยค่าความต่างศักย์ โวลต์ จะลดลง จนถึงจุดที่วันนึงเราสตาร์ทรถไม่ติด เพราะไดสตาร์ทต้องการปริมาณกระแสไฟและ แรงดันไฟค่อนข้างมาก เมื่อแบตจ่ายให้ไม่ได้ ก็ต้องเปลี่ยนแบตใหม่ (เรื่องของแบตเอาไว้แค่นี้ล่ะกัน)

      ไดชาร์ท หลายคนก็คงรู้จัก มันก็คือไดนาโมนี่เอง หรือตัวที่ทำหน้าที่บั่นกระแสไฟ เพื่อจ่ายให้ระบบ (รวมถึงวิทยุ กับแอมป์ที่เราใข้เล่นเครื่องเสียงด้วย) ส่วนที่เหลือจากการใช้จะถูกนำมาชาร์ตแบตครับ โดยปรกติ ถ้าเราไมได้ลงเครื่องเสียงในรถ ไดชาร์ทจะมีปริมาณกระแสไฟ ที่เหลือจากการใช้ของรถ ประมาณ 5-15 แอมป์แล้วแต่รุ่นรถ ในปริมาณขนาดนี้ ก็เพียงพอกับการติดตั้งแอมป์ 4 แชนแนล 1 ตัวขนาด 75x4 วัตต์ เปิดดังกระหึ่มในรถ โดยที่ไม่ส่งผลกับแบตแม้แต่นิดเดียวครับ ทีนี้ไดชาร์ท รถก็มีอายุการใช้งานครับ เมื่อใช้ไฟนานๆ เช่น 5 ปีผ่านไป ความสามารถในการจ่ายไฟจะลดน้อยลง ดังนั้นถ้าเรามีแอมป์สักสองตัวเปิดดังๆ แอมป์จะดึงกระแสไฟจากแบตแทน เปรียบแบต เหมือนถึงน้ำ ถ้าปริมาณการใช้น้ำมาก แต่น้ำเติมเข้ามาในถังน้อย ปริมาณน้ำในถังจะลดลงเรื่อยๆ หลายคนคงเคยเจออาการ อยุ่ๆ แอมป์ก็ปิดตัวเองไปดื้อๆ เดี๋ยวก็ติดขึ้นมาใหม่ นั้นแหละอาการแบตหมดมาเยือน

      สายแบตเตอรี่ เปรียบเสมือนท่อน้ำ ลองคิดดูจะเกิดอะไรขึ้น ถ้า อพาร์เมนท์ทั้งหลัง อาบน้ำพร้อมกัน 100 ห้อง แต่ท่อที่ต่อจากถังน้ำขนาด แค่ครึ่งนิ้ว ทำไปพี่ไม่เพื่อเอาไว้สัก 3-5 นิ้วไปเลยล่ะ ฉันใดก็ฉันนั้น หมองูตายเพราะงู จบข่าว!!! สายแบตเตอรี่ที่มีขายกันในบ้านเรา และฝรั่งแนะนำให้ใช้ก็มีขนาดดังนี้

0 AWG ขนาด ประมาณ 40 sq.mm2 สำหรับ แอมป์ 4 ch ตัวใหญ่ กับ 2 ch ขับซับ

4 AWG ขนาด ประมาณ 20 sq.mm2 สำหรับ แอมป์ 4 ch ตัวใหญ่ หรือ 5 ch

8 AWG ขนาด ประมาณ 10 sq.mm2 สำหรับ แอมป์ 4 ch ตัวเล็ก

      แต่นี่มันเมืองไทย ร้านเครื่องเสียงบ้านๆ มักขี้เหนียว เคยเห็นใส่สายแบตขนาด 6 sq.mm2 กับแอมป์ 4 ch ตัวใหญ่ ให้ลูกค้า คือมันก็ใช้ได้นะครับไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อไรที่คุณเร่งกำลังจากแอมป์ให้สูงมากๆ หรือเปิดดังมากๆ จะเกิดปัญหาทันที คือไฟวิ่งไม่พอ

      สุดท้ายที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือตัวเจ้าปัญหา แอมป์(เครื่องขยายเสียง)!!นั้นเอง ถามหน่อยเถอะ ช่างหลายคนในร้านใหญ่ๆ หลายร้าน ติดตั้งเครื่องเสียงมาเป็น 10 ปี ยังไม่รู้เลยว่าการกินกระแสไฟของแอมป์ทำงานยังไง ถ้าไปถามช่างเขาอาจตอบคุณว่า อ๋อ แอมป์รุ่นเนี้ย 4x60 วัตต์ วัตต์max 600 วัตต์ กินกระแสไฟยังไง หรือครับ ก็...กินไม่เยอะครับ โอ้ย แค่นี้ไม่มีปัญหาหรอก เค๊าเล่นกัน 3 ตัว ยังไม่เป็นไรเลย.... (อันนี้ก็คือรู้จริงๆ ตอบตามประสบการณ์ช่างเค๊าน่ะ) ความจริงก็คือว่า แอมป์จะมีค่าการกินไฟขั้นต่ำ (Idle Current) ค่าหนึ่ง ในคู่มือแอมป์จะบอกไว้ เช่น แอมป์ 600 w RMS จะมีค่ากินไฟขั้นต่ำ 3 A เป็นต้น แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เปิดโวล่มเสียงให้ดังขึ้นเรื่อยๆ แอมป์ตัวนี้จะกินกระแสไฟมากๆ ตามเสียงที่ดังขึ้น อาจสูงถึง 50 A โอ้..โห๋ ...หลายคนอาจตกใจ อย่างนี้ไดชาร์ตก็จ่ายไฟให้ไม่พอสิ แอมป์ตัวเดียวเนี่ย... ไม่ต้องตกใจครับ มันเป็นค่าสูงสุดเท่านั้นและส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงที่เบสลงหนักๆ (ความถี่ต่ำๆ) เป็นช่วงเสี้ยววินาทีเท่านั้น แต่เฉลี่ยแล้ว จะกินกระแส 5-10 แอมป์ พูดมาถึงตรงนี้หลายคนคนร้องอ๋อกันแล้วว่า มิน่าล่ะถึงต้องมีตัวจ่ายไฟ (คาปาซิเตอร์)จะแบบแท่ง หรือจะแบบอะไรก็แล้วแต่ 1 F ,1.5F, 2.0F แล้วแต่ศรัทธา มาช่วยในการจ่ายกระแสไฟให้กับแอมป์ โดยเฉพาะแอมป์ขับซับเพราะจะหวังพึ่งปริมาณกระแสไฟจากแบตเตอรี่คงไม่ทันท่วงที (เพิ่มเติมนิดนึง คาปา ไม่ใช่แบตนะครับ มันทำหน้าที่เหมือนถังไนตรัสที่ใช้ในรถแข่งกดปู้ดเดียว รถคุณจะพุ่งฉิ๋ว แต่ไม่สามารถพุ่งได้ตลอดไป ต้องอาศัยแบตอยู่ดี

      เมื่อเราเข้าใจพื้นฐานของแหล่งพลังงานที่ป้อนให้เครื่องเสียงแล้วก็ไม่ยากที่จะอธิบายปัญหาต่างๆ แต่ต้องขอบอกก่อนนะครับว่า ส่วนใหญ่ปัญหาเรื่องระบบไฟ มักเกิดกับคนที่เริ่มมีซับเป็นของตัวเอง (อันที่จริงไม่น่าเรียกว่ามีซับน่ะเพราะต้องเสียทรัพย์ไปเยอะ) ส่วนพวกเล่นวิทยุ ขับคู่หน้า หลัง 6คูณ9 หรือมีแอมป์มาขับอีกซักตัว อย่าเพิ่มวิตกจริตครับ กลับบ้านไปดูดนมดีกว่า

      สรุปได้ว่าการมีแอมป์หลายตัวบางคนมี 6 ตัว ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องเปลี่ยนแบตหรือเพิ่มได เลย เพราะเขาอาจฟังไม่ดังมาก (ฟังสบายๆในรถ) และไม่ได้เปิด ซับตูมตาม ในทางกลับกันคนที่มีแอมป์แค่ 2 ตัว แต่ทั้งบริดส์ ทั้งโหลดลำโพง (2โอห์ม) ซับอัดกันเต็มที่ เปิดเพลงก็แนว dance เรียกว่าเปิดให้ดังฟังทั้งซอย อย่างนี้อาจต้องเพิ่มแบตอีก 2 ลูก เปลี่ยนไดให้ใหญ่ขึ้นถึงจะเอาอยู่ ปัญหาที่ตามมาแบตจะเสี่อมเร็วกว่าปรกติด้วย เช่น เมื่อก่อนเคยเปลี่ยนที่2 ปี อาจเหลือ 6 เดือน



ทริปเล็กๆการหุ้มหนังตู้ลำโพง
1.(ถ้าเป็น PVC เช่นมีลายไม้ต่าง ๆ) ให้ติดกาว PVC ด้านเรียบให้แห้งก่อน แล้ว ทากาวบริเวณส่วนโค้งมุมที่จะติด และ เฉพาะตรงมุมให้ใช้เตารีดรองด้วยผ้าสองชั้น หรือเป่าด้วยไดร์เป่าผม ให้ PVC อ่อนตัวก่อนแล้วดึงให้ยึดพอดีกับมุม แล้วแปะลงไปให้ติดกับกาว ดึงไว้สักพักจนกาวไม่ลื้น แล้วทำด้านอื่น ๆ ต่อไปครับ
2.(ถ้าเป็นหนัง) ให้ทากาวยางแล้วแปะด้านเรียบก่อน ต่อมาด้านมุมต้องใช้ตัวช่วยคือให้ทากาวที่ด้านที่จะติดกาวก่อน แล้วตอนแปะหนังให้ดึงหนังเลยออกมาแล้วใช้ไม้ตอกตะปูทับหนังกับไม้อื่นไว้ก่อนให้กาวพอแห้ง แล้วจึงตัดส่วนเกินออกครับ


เทคนิคการหุ้มหนังตู้ลำโพง
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
1.กาวยางกระป๋องใหญ่ 80 บาท


2.หนังหุ้มตู้ลำโพง ลายหนังช้าง หลาละ 70 บาทโดยประมาณ


3.กรรไกร-คัตเตอร์
4.ไม้รีดกาว หรือแปรงทาสีก็ได้
5.ไดร์เป่าผม

ขั้นตอนการทำ
1.นำตู้ลำโพงที่เราตีเสร็จแล้วมาทำความสะอาดผิวให้สะอาด
2.เอาแผ่นหนังไปวัดทาบกับตู้ลำโพงโดยประมาณแต่ต้องให้มากกว่าขนาดของตู้ลำโพงไว้ก่อน
3.เอาคัตเตอร์ หรือกรรไกร ตัดตามขนาดออกมา
4.ทากาวยางให้เต็มหน้าผิวของแผ่นหนังและตู้ลำโพง โดยใช้ไม้ทากาว หรือแปรงทาสี ทาให้ทั่วทั้งแผ่น แล้วทิ้งไว้ให้หมาด ๆ แต่ไม่ถึงกับแห้ง
5.นำแผ่นหนังที่ตัดเตรียมไว้ แปะมันเข้าไป แล้วใช้ผ้าขี้ริ้ว ถูบนแผ่นหนัง เพื่อให้แนบสนิทกับเนื้อกาวและพื้นไม้ ส่วนที่ขอบหรือมุมของตู้ลำโพง
   ให้ใช้ไดร์เป่าผมเป่าให้หนังยืดตัวก่อนแล้วค่อยๆดึงให้เข้ากับส่วนมุมของตู้ลำโพง
7.เก็บงานขอบข้างให้สวยงาม (ใช้ผ้าถู กดไปเรื่อย ๆ)






เทคนิคการหล่อตู้ลำโพงข้างประตูรถยนต์ด้วยเรซิ่น
      เพื่อนช่างที่ต้องการจะทราบขั้นตอนการหล่อตู้ลำโพงข้างประตูรถยนต์ด้วยเรซิ่นท่านสามารถเขาไปชมได้ตามเว็ปด้านล่างเลยครับรับรองว่าไม่ยาก
อย่างที่คิดครับ...


      

วิธีหล่อไฟเบอร์กลาส


เทคนิดการทำสีตู้ลำโพง
      สำหรับเพื่อช่างที่ต้องการทราบขั้นตอนการทำสีตู้ลำโพงท่านสามาารถเข้าไปเข้าไปชมได้ที่เว็ปด้านล่างเลยครับ ซึ่งจะบอกรายละเอียดให้
ครับไม่ว่าจะเป็นการทำสีระเบิดแบบธรรมดา หรือแบบกันน้ำก็มีให้ท่านชมครับ...






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น