วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

การใช้งานมัลติมิเตอร์เบื้องต้น

มาทำความรู้จักกับมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
 มัลติมิเตอร์หนึ่งในเครื่องมือของช่างไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ ที่ทุกท่านที่กำลังก้าวขึ้นสู่การเป็นช่างอาชีพ และต้องการตรวจเช็ค วิเคราะห์หาอาการเสียต่างๆได้อย่างถูกต้องแม่นยำ แล้ว คุณควรจะต้องมีมัลติมิเตอร์ดีๆสักตัวไว้ใช้งานนะครับ เครื่องมัลติมิเตอร์ที่ผมแนะนำความรู้ตรงนี้ หลายๆคนที่เป็นช่างเก่า ช่างใหม่ คงจะเคยได้เคยเห็น และได้ยินยี่ห้อนี้กันนะครับ มันเป็นมิเตอร์ชนิดเข็ม ที่มีชื่อยี่ห้อว่า ซันวา (SANWA) รุ่น YX361TR ของแท้ต้องเป็น SANWA ไม่ใช่ SUNWA หรือ SAMWA นะครับ เพราะมีการลอกเลียนแบบกันมากมายหลายๆยี่ห้อ เอาความเที่ยงตรงแม่นยำแล้วจะสู่ของแท้ๆไม่ได้นะครับ ราคาจะอยู่ที่ประมาณ ไม่เกิน หนึ่งพันห้าร้อยบาท ช่างใหม่ ช่างเก่า ที่ได้อัพเดรทข้อมูลกันตรงนี้ ก็อย่าลืมมีหาไว้ใ้ช้กันนะครับ ส่วนจะซื้อกันที่ไหน ก็หาดูกันตามหน้าเวีป หรือร้านเครื่องมือช่างใกล้บ้านท่านก็แล้วกัน

รูปถ่ายด้านหน้าของ Sanwa361 TR  

 จากรูปด้านบนที่เห็น จุดตำแหน่ง (N) หรือ -COM เป็นตำแหน่งสำหรับการเสียบสายวัด (โพป) สีดำ และทางขวา (P) เป็นตำแหน่งสำหรับการเสียบสายวัด (โพบ) สีแดง

รูปภายในด้านหลังของมัลติมิเตอร์

รูปสเกลของตัวมิเตอร์

จากรูปที่ แสดงมัลติมิเตอร์ซันวารุ่น yx-361TR และส่วนประกอบต่างๆ แสดงกำกับด้วยตัวเลข มีชื่อและหน้าที่ดังนี้
หมายเลข 1 คือ สเกลสำหรับการอ่านค่าของความต้านทาน มีหน่วยเป็นโอมห์
หมายเลข 2 คือ สเกลสำหรับการอ่านค่าแรงไฟที่เป็นทั้งกระแสตรง และกระแสสลับ มีค่าตัวเลขระหว่าง 0 – 250
หมายเลข 3 คือ สเกลสำหรับการอ่านค่าแรงไฟแบบกระแสตรง ที่สามารถอ่านได้ทั้งค่าที่เป็นลบ และเป็นบวก มีตัวเลขระหว่าง 0 – 25(+) และ 0-25(-)
หมายเลข 4 คือ สเกลการอ่านค่าของอัตราการขยายของทรานซิสเตอร์
หมายเลข 5 คือ สเกลสำหรับการอ่านค่าแรงไฟสำหรับการตรวจเช็คแบตเตอรี่ที่ไม่เกิน 1.5 V.
หมายเลข 6 คือ สเกลสำหรับการอ่านค่าของเสียง มีตัวเลขทางบวก ตั้งแต่ 0 – +(10) dB และ ทางลบ 0 – (-10)
วิธีการใช้มัลติมิเตอร์ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้า
                                             
การใช้มัลติมิเตอร์แบบDigital 
      มิเตอร์ดิจิตอล เป็นเครื่องมือวัด และตรวจเช็กดี เสียอีกชนิดหนึ่งที่ช่างอิเล็คควรจะมีไว้ในมือสักตัวหนึ่ง เพราะในการตรวจวัดบางวิธีการ บางสภาวะ จะต้องการความขัดเจนของตัวเลขแรงไฟ ตัวเลขความจุของคอนเด็นเซอร์ หรืออาจวัดค่าความต้านทานของ ตัวต้านทานที่ไม่ระบุข้อมูลใดๆเลยบนตัวของมัน มิเตอร์ดิจิตอลจะสามารถช่วยให้เราทำงานได้ง่ายขึ้นนะครับ
การใช้มัลติมิเตอร์ชนิด ดิจิตอล (Digital) ยี่ห้อ Fulke รุ่น 115
ผู้เขียนขอแนะนำมิเตอร์ดิจิตอลยี่ห้อดัง ที่ราคาไม่แพงมากเกินไปนัก (7500 บ.) ที่มีประสิทธิภาพในระดับแนวหน้า สำหรับนักอิเล็คทรอนิคส์อย่างเราๆใช้งานกัน ประดับร้านซ่อมของเรา ดูดีมีชาติตระกูลเลยทีเดียวเชียวเลยครับ

ที่หน้าปัทม์ของมิเตอร์ Fulke นี้ มีรายละเอียดที่พอจะอธิบายให้เข้าใจถึงคุณสมบัติได้ดังนี้


วิธีการใช้มัลติมิเตอร์ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้า
       เครื่องมือชิ้นหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อการทำงานทางด้านช่างอย่างมาก และถือว่าเป็นพื้นฐานเครื่องมือประเภทตรวจวัด ที่ช่างและผู้ใช้งานทั่วๆไป ควรต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้งานอย่างถูกต้อง เพื่อประสิทธิภาพและความสัมฤทธิผลของการทำงานให้เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เครื่องที่ว่านี้ถูกเรียกกันในนามว่า”มัลติมิเตอร์”มัลติมิเตอร์ เป็นเครื่องมือที่รวมหลายๆ คุณสมบัติในการตรวจเช็คเข้าไว้ด้วยกันนั่นเอง เช่น ความสามารถในด้านการตรวจวัดแรงเคลื่อนของกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Volt) , ความสามารถในการตรวจวัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC Volt) ,ความสามารถในการตรวจวัดความต้านทานนของอุปกรณ์ , ความสามารถในการวัดกระแสไฟฟ้า (Amp. Meter) และ ความสามารถในการตรวจวัดการขาดต่อของจุดเชื่อมต่อต่างๆ สำหรับบทความนี้ ผู้เขียนจะขออธิบายการใช้ มัลติมิเตอร์ ยี่ห้อที่โด่งดังยี่ห้อหนึ่งนั่นก็ คือ SANWA ซึ่งเป็นยี่ห้อที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ช่าง มิเตอร์นั้นมีทั้ง แบบเข็มที่เรียกกันว่า อะนาล็อก และ แบบตัวเลข ที่เรียกว่า ดิจิตอล การใช้งานนั้นโดยหน้าที่แล้วก็มีความเหมือนกันทั้งนั้น อยู่ที่การดูอ่านค่าที่ได้รับและความไว กับอาจจะรวมถึงคุณสมบัติที่พิเศษเพิ่มเติมจากแบบเข็มก็แล้วแต่ละยี่ห้อ และรุ่นของมิเตอร์ดิจิตอลรุ่นนั้นๆบางท่านใช้มิเตอร์วัดแบบไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยคิดว่าเมื่อวัดอะไรก็แล้วแต่ถ้าเข็มมิเตอร์มีการเคลื่อนตัวจากซ้ายมือไปทางขวามือนั้นก็จะถือว่าอุปกรณ์นั้นๆ มีสภาพดีตลอด ซึ่งถือว่าเป็นความคิดที่ยังผิดๆอยู่ครับ เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้ว ท่านจะมีความเข้าใจที่ดีขึ้นครับ

          SANWA เป็นมิเตอร์แบบเข็ม (Analog) ที่ใช้งานง่ายๆด้วยปุ่มบิดเลือกการทำงานแบบต่างๆ การอ่านค่าบนหน้าปัทม์ มีใช้อยู่ 4 สเกล ได้แก่ สเกล 10 , 50 , 250 , 1000 (อ่านที่ 10 แล้วคูณ 100)

การวัดแรงไฟกระแสสลับ,กระแสตรง 


ตัวอย่างที่ 1
ถ้าเราวัดไฟไม่ว่า AC หรือ DC ที่มีแรงเคลื่อนสมมุติว่า 10 โวลท์ เราก็อ่านค่าสเกลที่ 50 เข็มก็จะชี้มาที่เลขประมาณ 10 นั่นเอง

ตัวอย่างที่ 2
ถ้าเราวัดไฟไม่ว่า AC หรือ DC ที่มีแรงเคลื่อนสมมุติว่า 200 โวลท์ เราก็อ่านค่าสเกลท 250 เข็มก็จะชี้มาที่เลขประมาณ 200 เช่นกัน

ตัวอย่างที 3
ถ้าเราวัดไฟไม่ว่า AC หรือ DC ที่มีแรงเคลื่อน สมมุติว่า 800 โวลท์ เราก็อ่านค่าสเกลท 10 เข็มก็จะชี้มาที่เลขประมาณ 8 เมื่ออ่านได้ก็ให้คูณด้วย 100 ก็จะได้เป็น 800 ครับ

การวัดแรงไฟกระแสสลับ (ไฟบ้าน) 

       จากความรู้เรื่องของแรงเคลื่อนไฟฟ้า และการเกิดกระแสไฟฟ้าตามที่ได้แนะนำไว้ไปแล้วนั้น หากว่าเราต้องการวัดแรงไฟบ้านซึ่งเป็นกระแสสลับนั้น เราจะต้องหมุนลูกบิดไปที่ตำแหน่ง AC Volt ซึ่งจะสามารถวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้สูงถึง 1,000 โวลท์ แต่เนื่องจากเราทราบอยู่แล้วว่า แรงเคลื่อนไฟบ้านในเมืองไทยนั้นมีค่าอยู่ที่ 220 โวลท์ โดยประมาณ ดังนั้นเราจึงบิดลูกบิดไปที่ 250 โวลท์ AC ซึ่งเราจะต้องตั้งย่านให้สูงกว่าแรงไฟที่เราจะทำการวัด ( สรุปก็คือต้องตั้งย่านการวัดให้สูงไว้ก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้มิเตอร์ของเราเสียหายได้ เช่น ย่านมิเตอร์ตั้งอยู่ที่ 10 โวลท์ AC แล้วเราก็นำไปวัดไฟบ้าน ที่มีแรงเคลื่อนถึง 220 โวลท์ AC ) เมื่อพร้อมแล้วก็ให้ไปนำเอาสายโพ๊ปสีแดง และสีดำเสียบเข้ากับปลั๊กไฟที่เราไว้เสียบ พวกอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านนั่นเอง ตรงนี้ก็ต้องขอเตือนไว้ก่อนว่าเรากำลังเล่นกับไฟฟ้า 220 โวลท์ ดังนั้นห้ามสัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะของสายโพ๊ปสีแดง และสีดำนะครับ เพราะจะทำให้คุณถูกไฟดูดเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

การวัดแรงไฟกระแสตรง

        ไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟที่มี ขั้วบวก และ ขั้วลบ คงที่ เช่น ถ่านไฟฉาย ,แบตเตอรี่รถยนต์ ,หม้อแปลงไฟ ดีซี (DC Adaptor) ซึ่งถ้าเราจะทำการวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรงนี้ จะต้องวัดให้ถูกขั้วบวก และขั้วลบมิฉะนั้นจะไม่สามารถอ่านค่าแรงไฟได้ถูกต้อง ( หากต่อกลับขั้วจะทำให้เข็มมิเตอร์ตีลงทางซ้ายสุด ) ก่อนการวัดเราจะต้องทราบว่าแหล่งจ่ายไฟนั้นมีแรงเคลื่อนอยู่ที่เท่าไหร่ จากนั้นเราจึงทำการตั้งย่านของมิเตอร์ ไปที่ตำแหน่งการวัดนั้น โดยต้องตั้งให้มีค่าสูงกว่าแหล่งจ่ายไฟที่เราจะทำการวัด ตัวอย่างเช่น เราจะทำการวัดถ่านไฟฉาย 1 ก้อน ซึ่งทั่วๆไปจะมีแรงไฟอยู่ที่ 1.5 โวลท์ดีซี เราก็บิดลูกบิดเลือกย่านไปที่ 10 โวลท์ดีซี แล้วนำสายโพ๊ปสีแดงไปแตะที่ขั้วบวกของถ่านไฟฉาย และสายโพ๊ปสีดำแตะที่ขั้วลบของถ่านไฟฉาย จากนั้นให้อ่านแรงไฟที่ หน้าปัทม์ของมิเตอร์ ตรงสเกลตัวเลข 0 – 10 ถ้าถ่านไฟฉายนั้นมีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ก็จะทำให้เข็มสวิงมาอยู่ที ประมาณ 1.5 โวลท์ ( อ่านสเกล10 ที่มีตัวเลข 0 2 4 6 8 10 1.5 จะอยู่ก่อนถึงเลข 2 )

การวัดการขาดต่อของสายหรือลายวงจร 

ตัวอย่าง
       ถ้าต้องการที่จะวัดสายไฟเส้นหนึ่งว่ามีการขาดภายใน หรือ ไม่ ก็ให้บิดลูกบิดไปที่การวัดโอมห์ ที่ตำแหน่ง Rx1 แล้วนำสายโพ๊ปสีแดงและดำมาแตะกัน จะปรากฏที่หน้าปัทม์ของมิเตอร์ว่า เข็มจะมีการสวิงไปทางขวามือ ให้ทำการปรับให้อยู่ตำแน่งที่ศูนย์โอมห์ ( อยู่ขวาสุดของด้านบนหน้าปัทม์ ) เมื่อปรับเรียบร้อยแล้วก็ให้ไปนำสายโพ๊ปข้างใดข้างหนึ่งไปแตะปลายสายข้างหนึ่งของสายไฟ ส่วนสายโพ๊ปที่เหลือก็ให้ไปแตะที่ปลายอีกข้างหนึ่งของสายไฟเช่นกัน ถ้าปรากฏว่าเข็มมิเตอร์มีการสวิงจากซ้ายไปขวาจนถึงตำแหน่งศูนย์โอมห์ แสดงว่าสายไม่ขาดใด แต่ถ้าได้ทำตามคำแนะนำข้างต้นแล้วเข็มมิเตอร์ไม่มีการสวิงจากซ้ายไปขวา(อยู่นิ่งๆ) แสดงว่าสายมีการขาดใน

เรียนรู้เพิ่มเติมได้จากคลิปนี้เลยครับ

การวัดRisester
การวัดCapacitor
การวัดDiode
การวัดTransistors
การวัดTriac























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น