วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รวมเทคนิคต่างๆของเครื่องเสียง

รวมเรื่องเครื่องเสียง
เอาใจคนรักเครื่องเสียง
      เอาใจคนรักเครื่องเสียครับ รวมเรื่องดีๆสำหรับเครื่องเสียงไว้ครับแล้วมีถ้ามีข่าวสารดีๆเกี่ยกับเครื่องเสียงก็จะนำมาอัปเดตในกับเพื่อนช่างไปเลื่อยๆครับ พอดีมีคนขอมาครับผมก็เลยจัดไปให้ครับ เพื่อนช่างที่อ่านบล็อกนี้แล้วหากมีข้อเสนอแนะหรือข่าวสารดีๆก็นำมาอัปเดตกันบ้างนะครับ...

เทคนิคการติดตั้งเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ สำหรับนักเล่นมือใหม่
      งานติดตั้งเครื่องขยายนั้น อาจจำเป็นต้องใช้ทักษะรวมกับคุณสมบัติด้านสร้างสรรค์มากกว่าการติดตั้งเครื่องเล่นวิทยุ เพราะต้องมีการกำหนดตำแหน่งที่จะติดตั้งเอาเอง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปนัก และด้วยพลังพิเศษจากเพาเวอร์แอมป์ ท่านจะเร่งความดังเครื่องได้มากขึ้น โดยเสียงที่ได้มีความสะอาดเป็นธรรมชาติมากขึ้นด้วย


เครื่องมือที่ต้องจัดเตรียม
- สว่าน และ ชิ้นอุปกรณ์ประกอบ
- ไขควงและสกรู
- สายรัด และเครื่องมืดบีบหัวต่อสาย
-หัวต่อสายขนาดต่าง ๆ
-สายไฟแรงดัน สายไฟกราวน์ สายไฟรีโมท และสายลำโพง
-หัวแร้ง ตะกั่วบัดกรี

วิธีการติดตั้งเพาเวอร์แอมป์

1. การวางแผน เลือกกำหนดที่ตั้งเพาเวอร์แอมป์ของท่านตามที่ตั้งใจไว้ และให้ถูกหลักของการระบายความร้อน และควรจะต้องมีพื้นที่ในด้านต่าง ๆ พอเพียงเพื่อทำการเชื่อมต่อ และการเดินสาย และปรับแต่ง ให้เป็นไปได้อย่างสะดวก การกำหนดที่ตั้งของเพาเวอร์แอมป์ที่เหมาะสมได้แก่ บริเวณใต้เบาะที่นั่งด้านหน้า บริเวณผนังที่วางเท้าด้านหน้า หรือในห้องสัมภาระท้ายรถ

2. การยึดติดเพาเวอร์แอมป์ ควรนำตัวเครื่องไปวางทาบในบริเวณที่ต้องการติดตั้ง และทำเครื่องหมายบริเวณที่จะทำการยึดสกรูเอาไว้ก่อน จากนั้นจึงเจาะรูสำหรับยึดสกรู พร้อมตรวจเช็คความแน่นหนาหลังยึดสกรูเพาเวอร์แอมป์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

3. การเดินสายเพาเวอร์แอมป์ ก่อนการเดินสายใด ๆ ในรถ ให้ท่านปลดสายเชื่อมแบตเตอรี่ที่เป็นลบ (กราวน์) ออกจากขั้วแบตเตอรี่เสียก่อน ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงของผลกระทบกับระบบไฟฟ้าของรถยนต์ โดยมีสายสำคัญ 3 ส่วนที่ต้องเอาใจใส่ ดังนี้
- สายเกี่ยวกับระบบไฟ : สายไฟ สายกราวน์ สายรีโมท ควบคุมการเปิด/ปิด เป็นแหล่งพลังไฟให้กับเพาเวอร์แอมป์
- สายในส่วนอินพุท : สายนำสัญญาณ RCA ซึ่งเป็นสายนำสัญญาณจากเครื่องรับวิทยุ / ซีดีไปยังเพาเวอร์แอมป์
- สายในส่วนเอาท์พุท : เป็นสายนำกระแสเสียงจากเพาเวอร์แอมป์ไปยังลำโพง เพาเวอร์แอมป์ ส่วนใหญ่จะไม่ได้มีสายไฟสำคัญต่าง ๆ มาให้ ซึ่งในการติดตั้งเพาเวอร์แอมป์เพียงตัวเดียวในระบบ ท่านสามารถซื้อสายต่าง ๆ เหล่านี้ได้จากร้านประดับยนต์

**** ส่วนของพลังงาน ****
-สายไฟแรงดัน สายไฟแรงดันจะเริ่มเดินจากแบตเตอรี่ของรถยนต์ไปจนถึงเพาเวอร์แอมป์ ควรมีขนาดของเส้นทองแดงที่เพียงพอกับจำนวนรวมของกระแสไฟที่จะไหลผ่านมันโดยตรงจากขั้วบวกของแบตเตอรี่ ซึ่งไม่น่ามีขนาดเล็กกว่าเบอร์ 10 gauge ซึ่งท่านอานต้องใช้สายไฟแรงดันในเบอร์ 8,4,2 gauge ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยาวของสายที่ใช้ ความต้องการกระแสของเพาเวอร์แอมป์ สำหรับตัวอย่างของสายเบอร์ 10 นั้นจะพอเพียงสำหรับเพาเวอร์แอมป์ที่มีขนาดกำลังขับ 50 วัตต์ x 2 หรือ 25 วัตต์ x 4 สำหรับการติดตั้งขั้วด้านบนของแบตเตอรี่โดยทั่วไปจะมีครอบมาตรฐานที่ทำเป็นแหวน เมื่อท่านเริ่มต่อสายไปยังขั้วต่อต่าง ๆ ให้เดินสายผ่านภายในของรถยนต์ไปยังเพาเวอร์แอมป์ โดยท่านจะต้องถอดกาบข้างประตู ยกพรมปูพื้นออก เพื่อที่จะสามารถซ่อนสายต่าง ๆ ไว้อย่างแนบเนียน ถ้าเพาเวอร์แอมป์ของท่านอยู่ในห้องสัมภาระท้ายรถ ท่านจะต้องถอดเอาที่นั่งข้างหลังออกด้วย เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อสายต่าง ๆ ไปยังเพาเวอร์แอมป์ด้วยหัวขั้วต่อสายแบบหางปลา และต่อเชื่อมกับเพาเวอร์แอมป์ โดยการขันสกรูให้แน่นหนา เพาเวอร์แอมป์บางเครื่องอาจใช้การปลอกปลายสายเปล่า ๆ เสียบกับสกรู สายไฟแรงดันจะต้องเดินผ่านไปยังพื้นรถภายในโดยผ่านทางผนังห้องเครื่อง วิธีที่สะดวกที่สุดก็คือ การลอดสายไฟนั้นผ่านไปทางรูที่มีบริเวณผนังห้องเครื่องที่เป็นตำแหน่งเดียวกับกลุ่มสายไฟของรถยนต์ใช้อยู่ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ก็จะต้องมีการเจาะรูขึ้นใหม่ ซึ่งต้องมีการเอาใจใส่อย่างยนิ่งโดยการใช้วงแหวนยางกันเอาไว้รอบ ๆ สายไฟ ในตำแหน่งที่เจาะรู เพื่อป้องกันไม่ให้สายไฟเกิดการถูไถกับขอบโลหะที่แหลมคมของรูที่เจาะไว้
-สายลงกราวน์ (ดิน) จะต้องทำการจยึดติดกับพื้นโลหะเปล่าของตัวถังรถ และต้องมีขนาดเบอร์สายเดียวกับสายไฟแรงดัน (หรือใหญ่กว่า) บริเวณที่ทำเป็นสลักเกลียวหรือสกรูเพื่อเชื่อมติดกับตัวถังรถจะต้องอยู่ใกล้ ๆ กับเพาเวอร์แอมป์ และขูดเอาสีที่เคลือบเอาไว้ออกให้หมดจนเห็นเนื้อเหล็กขาวสะอาด ปลายของสายไฟกราวน์อาจทำให้เป็นแหวนเพื่อวางมันให้แนบกับพื้นรถ และยึดสลักเกลียวหรือสกรูให้แน่นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สายลงกราวน์มีส่วนสำคัญในเรื่องการป้องกันเสียงรบกวน ซึ่งควรที่จะลงสายกราวน์ของอุปกรณ์แต่ละตัวที่อยู่ใกล้ ๆ กันในจุดเดียวกันทั้งหมด ตำแหน่งที่ใช้เป็นจุดลงกราวน์นั้นควรที่อยู่ใกล้กับพื้นรถมากที่สุด และเรียงลำดับอัตราการกินกระแสจากมากไปหาน้อย คือ ลงแหวนกราวน์ของอุปกรณ์ที่กินกระแสมากสุดไว้ล่างสุด และลงแหวนกราวน์ของอุปกรณ์ที่กินกระแสน้อยสุดไว้บนสุดตามลำดับ

****หมายเหตุ สายดินหรือสายไฟกราวน์จะต้องสัมผัสกับโลหะเท่านั้น ไม่สามารถใช้แผ่นพื้นอลูมิเนียมและบริเวณหน้าปัดไฟเบอร์กลาสเป็นจุดลงกราวน์ได้****
- สายรีโมท เพาเวอร์แอมป์ส่วนใหญ่จะมีวงจรเปิด/ปิดเครื่องอัตโนมัติ ท่านจึงสามารถเชื่อมต่อสายรีโมทจากเพาเวอร์แอมป์ไปยังรีโมทออกของเครื่องรับวิทยุ/ซีดี หรือที่สายควบคุมเสาอากาศ ซึ่งจะมีผลทำให้เพาเวอร์แอมป์เริ่มทำงานเมื่อเครื่องรับวิทยุ/ซีดีถูกเปิดใช้งาน และจะหยุดการทำงานเมื่อเครื่องรับวิทยุ/ซีดี ถูกปิดลง
-สายลำโพง เพื่อส่งสัญญาณเสียงไปยังลำโพง เชื่อมโยงระหว่างจุดต่อสายลำโพงที่เพาเวอร์แอมป์กับขั้วสายลำโพงที่ตัวลำโพง หรือกล่องพาสซีฟ โดยมาตรฐานแล้วมักใช้หัวต่อแบบหางปลาในระหว่างหัวจุดต่อที่เพาเวอร์แอมป์ และจุดต่อที่พาสซีฟครอสโอเวอร์ ส่วนจุดต่อไปยังขั้วสายลำโพงที่ตัวลำโพงเรามักจะใช้วิธีการบัดกรีโดยตรงเพื่อความมั่นคงแน่นหนา
**** ข้อพึงระวังประการหนึ่งในการเชื่อมต่อสายลำโพง ไม่ควรให้ส่วนที่เป็นเส้นทองแดงภายในสัมผัสกับตัวถังรถโดยเด็ดขาด เพราะอาจส่งผลย้อนไปทำความเสียหายให้กับเพาเวอร์แอมป์ได้****


มารู้จักประเภทของตู้ซับกัน

      เพื่อที่จะให้ได้พลังเสียงเบสที่หนักแน่น การประกอบลำโพงเข้ากับตู้ลำโพงจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความพิถีพิพันเป็นพิเศษ ตู้ลำโพงที่ใช้กับลำโพงซับวูฟเฟอร์นั้นมีแบบตู้ปิด (SEALED) , แบบมีท่อ (VENTED) , และแบบแบนพาส (BANDPASS) ซึ่งเรื่องขนาดของตู้จะต้องคำนวณด้วยซอร์ฟแวร์เฉพาะ โดยการที่จะได้เบสที่กระชับแม่นยำ และ คงเสถียรภาพที่ดีนั้นจะขึ้นอยู่กับการออกแบบตู้ลำโพงเป็นหลัก ซึ่งไม่เกี่ยวกับปริมาตรของเนื้อที่ใช้สอยภายในรถยนต์


      SEALED ENCLOSURES -- ในแวดวงของการติดตั้งลำโพง เป็นที่ยอมรับกันว่าลำโพงแบบตู้ปิดหรือ SEALED ENCLOSURES เป็นลำโพงที่นิยมที่สุด โดยสามารถควบคุมการขับกำลังวัตต์ของลำโพงได้สูงกว่าตู้ลำโพงแบบอื่น หรือเรียกได้ว่าสามารถให้เสียงที่มีความดังระดับ SPL ได้ โดยต้องเลือกขนาดของตู้
ลำโพงให้เหมาะสมกับการใช้งาน อย่างไรก็ตาม เรื่องของกำลังวัตต์ ก็เป็นเรื่องที่สำคัญทื่จะทำให้ลำโพงมีสมรรถนะได้ ดังนั้นจากมุมมองทางวิศวกรรม ลำโพงแบบตู้ปิด จึงได้ชื่อว่าเป็นการออกแบบที่ " SIMPLE IS BETTER" (ยิ่งเรียบง่ายยิ่งดี)

      VENTED ENCLOSURES (BASS REFLEX) - - ตู้ลำโพงแบบมีท่อ (VENTED ENCLOSURE) คือตู้ลำโพงที่ให้ความสมดุลที่ดีระหว่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ โดยท่อของตู้ลำโพงเป็นตัวกรอง (FILTER) ทางเสียงให้กับลำโพง อย่างไรก็ตามตู้ลำโพงแบบท่อนี้ จะใช้พื้นที่ในการติดตั้งที่มากกว่าแบบตู้ปิด เนื่องจากส่วนของท่อนั้นถือได้ว่าเป็นทางให้สัญญาณเสียงออกอีกทางหนึ่ง ข้อดีของตู้ลำโพงแบบนี้ คือสามารถให้ความถี่เสียงเบสที่ต่ำกว่าตู้ลำโพงแบบอื่น พร้อมทั้งมีประสิทธิภาพในการตอบสนองความถี่ที่ดี แต่ก็ต้องอาศัยการออกแบบที่ดี เพื่อให้ตัวแปรที่มีผลต่อเสียง เช่น ตัวตู้ลำโพง ลำโพง และท่อสอดผสานกันอย่างลงตัว ถึงแม้การออกแบบจะมีความซับซ้อน แต่ตู้ลำโพงแบบนี้ก็เป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะการนำ ไปใช้ออกแบบลำโพงอย่างเสียงต่ำในรถยนต์

      4 TH-ORDER BAND PASS ENCLOSURES -- ตู้ลำโพงแบบ 4 TH-ORDER BAND PASS คือตู้ลำโพงปิดที่มีการเพิ่มท่อด้านหน้าลำโพง ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกรองเสียง ( ACOUSTICAL FILTER) กับตู้ลำโพงแบบปิดธรรมดา แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเสียงก็คือจะต้องใช้พื้นที่มาก ดังนั้น จึงมีการประยุกต์ระบบ 4TH- ORDER BAND PASS ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการออกแบบมากกว่าตู้ลำโพงแบบปิด หรือแบบเบสรีเฟล็กซ์ เนื่องจากสามารถวางปริมาตรของตู้เทางด้านหน้า หรือด้านหลัง หรือเพิ่มลดขนาดของท่อได้ ทำให้สามารถระบุการตอบสนองความถี่รวมทั้งความไว (SENSITIVITY) ของระบบได้อย่างอิสระกว่า ตู้ลำโพงแบบปิด หรือแบบ เบสรีเฟล็กซ์ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังต้องอาศัยการปรับแต่งเสียงที่ดี เพื่อช่วยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ปรีแอมป์ จำเป็นไหมสำหรับระบบเครื่องเสียงรถยนต์
มารู้จักปรีแอมป์กันเถอะ

คนรักรถ และเครื่องเสียงบางคนคงเคยสงสัยว่า ปรีแอมป์ จำเป็นกับระบบเครื่องเสียงรถยนต์หรือไม่ ก่อนที่จะรู้คำตอบ เรามารูถึงความหมายของคำว่าปรีแอมป์ก่อนดีกว่า คำว่า ปรีแอมป์ มาจากคำในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึงตัวอุปกรณ์ที่ต่ออยู่ก่อนป้อนสัญญาณเข้าเพาเวอร์แอมป์ หรือตำราวิชาการบางเล่มถอดความได้ว่าภาคขยายส่วนหน้า โดยความเป็นจริง ปรีแอมป์นี้จัดอยู่ในหมวดภาคขยายเช่นกัน เพียงแต่ว่าระดับสัญญาณที่ขยายได้นั้น ยังมีอิพีแดนซ์สูงกว่าลำโพง ดังนั้นจึงไม่สามารถนำสัญญาณที่ได้ออกมาจากปรีแอมป์นี้มาขับลำโพงได้โดยตรง ต้องผ่านเพาเวอร์แอมป์เสียก่อน

หน้าที่หลัก ๆ ของปรีแอมป์จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการคือ

- ทำหน้าที่ขยายสัญญาณในระดับต่ำเพื่อให้มีระดับที่เหมาะสมสำหรับการป้อนสู่ภาคขยายอื่น ๆ ต่อไป รวมถึงการทำตัวเป็นวงจรบัฟเฟอร์ (กันชน) เพื่อเชื่อมโยงอุปกรณ์ทางเสียงที่อิมพีแดนซ์หรือความต้านทานภายในต่างกันให้ทำงานร่วมกันได้

- ทำหน้าที่ขยายสัญญาณพร้อมการปรับแต่ง และ การปรุงแต่งเสียงซึ่งอาจกำหนดให้มีการขยายระดับสัญญาณให้สูงขึ้น หรือไม่มีการขยายสัญญาณก็ได้

เมื่อพิจารณาจากหน้าที่หลักทั้ง 2 ประการนี้แล้ว ก็พอจะสรุปได้ว่าเมื่อมีสัญญาณออกมาจากหัวอ่านซีดีแล้ว ก็จะส่งผ่านมาทางปรีแอมป์ภายในตัวเฮดยูนิตหรือวิทยุก่อนชุดหนึ่ง ซึ่งมักเป็นปรีแอมป์ที่ทำการขยายให้สัญญาณนี้ให้มีระดับพอเหมาะ เพื่อที่จะส่งผ่านไปยังภาคอื่น ๆ ต่อไป ที่มีภาพ TONE CONTROL หรือปรุงแต่งเสียงบรรจุอยู่ด้วย เพื่อจะได้ทำการปรับแต่งเสียงทุ้ม/แหลมและอื่น ๆ

ปรีแอมป์ที่จะพูดถึงในบทความนี้จะหมายถึงปรีแอมป์ภายนอกเฮดยูนิต อันหมายถึงอุปกรณ์เครื่องเสียงติดรถยนต์อีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปจะมีขนาด 1 DIN ภายนอกจะมีปุ่มปรับความถี่ยกทุ้ม กลาง แหลม ดังนั้น หลาย ๆ ท่านที่เริ่มติดเครื่องเสียงรถยนต์ใหม่ ๆ และชอบเปิดอัด หรือ ชอบแต่งเสียงจึงขาดปรีแอมป์เอาไม่ได้เลย แถมอยากรู้ว่า มันจะมีประโยชน์อะไรเพิ่มเติมขึ้นได้บ้าง หากได้ทำการติดตั้งปรีแอมป์เข้าไปในระบบเสียง


ประโยชน์ของปรีแอมป์


      ในตัวปรีแอมปืที่ทำออกมาขายแยกต่างหากนี้ มักจะมีภาคประกอบทางเสียงอื่น ๆ บรรจุอยู่ด้วย อาทิเช่น วงจรชดเชยความถี่ที่ทำให้ย่านความถี่เสียงแต่ละย่านมีระดับเสียงที่สม่ำเสมอกัน ก่อนที่จะป้อนเข้าสู่วงจรปรับแต่ง / ปรุงแต่งเสียง ที่เรียกกันว่าปุ่มปรับ BASS / TREBLE ซึ่งแน่นอน ด้วยเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เสียงที่ได้ยินนุ่มนวลขึ้นกว่าเดิม สำหรับเพาเวอร์แอมป์รุ่นใหม่ ๆ นั้น มักจะมีความต้องการทางด้านกระแสสัญญาณอินพุทที่มากขึ้น เนื่องจากสภาพการทำงานของเพาเวอร์แอมป์รุ่นใหม่ ๆ สูงขึ้น แต่ในบางครั้งสัญญาณจากเฮดยูนิตที่ให้ออกมานั้นมีระดับต่ำเกินสำหรับการทำงานที่เต็มประสิทธิภาพของเพาเวอร์แอมป์ แม้ว่าจุดอินพุทของเพาเวอร์แอมป์จะมีปุ่มปรับความไวอินพุทมาให้ด้วยก็ตาม ดังนั้น การใช้ปรีแอมป์เสริมเข้าไปในระบบ ช่วยปรับให้ระดับสัญญาณที่จะนำไปป้อนเข้ากับเพาเวอร์แอมป์นั้นสูงขึ้น หรือมีระดับที่เหมาะสมอย่างแท้จริงกับการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพของเพาเวอร์แอมป์ ดังนั้นสังเกตุเห็นได้ว่าในระบบที่มีการใช้ปรีแอมป์แยกทางนี้ให้เสียงได้โปร่ง และไม่อับทึบเลยแม้แต่น้อย นั่นเป็นเพราะว่าเพาเวอร์แอมป์ได้รับขนาดสัญญาณที่เพียงพอ และเหมาะสมที่จะอำนวยให้ภาคขยายในตัวเพาเวอร์แอมป์ทำงานที่ระดับประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งยังช่วนให้ความร้อนสะสมภายในตัวเพาเวอร์แอมป์ลดลงอีกด้วย


ทุกส่วนในระบบเสียง สิ่งที่นักเล่นมือใหม่ควรรู้ 


      ฉบับนี้ ทีมงานมีเรื่องราวเกี่ยวกับระบบเครื่องเสียงมาฝากกัน เน้นทำความรู้จักทั้งประเภท และประสิทธิภาพของอุปกรณ์แต่ละชิ้น ว่ามีความสำคัญต่อระบบเสียงอย่างไร ซึ่งบางชิ้นอาจไม่ต้องใช้ในบางระบบ ทั้งนี้ เน้นการใช้งานจริง แบบคุ้มค่า คุ้มราคากัน

      ฟรอนท์เอนด์ หลาย ๆ คนชอบถามว่า จะเลือฟรอนท์เอนด์แบบไหน ยี่ห้อไหนดี จริง ๆ แล้ว เทคโนโลยีด้านฟรอนท์เอนด์เรียกว่าเกือบจะถึงขีดสุดแล้ว จึงไม่ต้องกังวลเรื่องยี่ห้อ แต่ควรจะเลือกให้ตรงกับความชอบมากกว่า ถ้าคุณชอบเล่นเทป ก็เลือกวิทยุ/เทป ถ้าชอบซีดี ก็เลือกวิทยุ/ซีดี ถ้าชอบทั้ง 2 อย่างก็เลือกแบบ 2 DIN ที่เล่นได้ครบ

      เทรนด์ตอนนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ คนที่ชอบฟังเพลง จะเน้นที่วิทยุ/ซีดี ที่เล่น MP3 ได้ด้วย ส่วนคนชอบหนังก็จะเลือกวิทยุ/ วีซีดี หรือ ดีวีดี ซึ่งต้องเพิ่มในส่วนของจอภาพขึ้นมาด้วย สิ่งที่ต้องรู้คือ ฟรอนท์เอนด์รุ่นนั้นเล่นอะไรได้บ้าง มีกำลังขับในตัวหรือเปล่า มีพรีเอาท์กี่แชนแนล กำลังขับมีความสำคัญสำหรับคนที่ต้องการเล่นแบบไฮเพาเวอร์ คือไม่ต่อแอมพ์ ส่วนพรีเอาท์เป็นช่องต่อสัญญาณสำหรับระบบที่ต่อแอมพ์ ฟรอนท์มักไม่มีปัญหาด้านการติดตั้ง ด้วยขนาดที่เป็น 1 DIN มาตรฐาน จะลงได้ที่ช่องเดิมของรถเกือบทุกรุ่น ส่วนแบบ 2 DIN ต้องดูให้ดีว่าช่องเดิมเป็นขนาด 2DIN หรือเปล่า สำหรับเรื่องรูปร่างหน้าตา ชอบแบบไหน ไม่มีข้อจำกัด ขึ้นอยู่กับงบประมาณ

      พรีแอมป์/อีคิว จัดเป็นอุปกรณ์เพิ่มเติมที่ได้รับความนิยมโดยเฉพาะนักเล่นที่ชอบปรับแต่งเสียง ใช้ได้เฉพาะกับระบบที่มีเพาเวอร์แอมป์เท่านั้น สิ่งที่ควรรู้คือ ชุดพาราเมทริค โดยทั่วไปจะมีให้ 4 แบนด์ คือ เสียงเบส / มิดเบส/ กลาง / แหลม ถ้ามีมากกว่าก็จะยิ่งดี ปรับได้ละเอียดขึ้น เกือบทุกค่ายจะเพิ่มครอสส์โอเวอร์ และปุ่มปรับเสียงเบส มาให้ด้วย ก็จัดได้ว่าเป็นข้อได้เปรียบทีเดียว ยิ่งลูกเล่นมาก ราคาก็สูงตาม ถัดมาเป็น อีควอไลเซอร์ ปัจจุบันไม่ค่อยมีให้เห็นกัน เพราะนักเล่นเน้นสัญญาณบริสุทธิ์มากกว่าการปรับแต่งเสียง แต่ในระบบใหญ่ ๆ จะช่วยให้ปรับแต่งเสียงได้ละเอียดลงตัวมากขึ้นทีเดียว ที่เคยเห็นจะมีตั้งแต่ 10-30 แบนด์ ส่วนมากจะปรับตายตัว และติดตั้งไว้กับแอมป์ด้านท้ายรถ ซึ่งสามารถกลับไปปรับแต่งได้ ควรให้ผู้ชำนาญปรับแต่งเสียง

      ครอสโอเวอร์ เป็นตัวตัดสัญญาณ ใช้เฉพาะกับระบบที่มีเพาเวอร์แอมป์ มีให้เลือกทั้งแบบ 2/3 ทาง ช่วยให้เลือกจุดตัดได้เป็นช่วงกว้างตามต้องการ โดยเฉพาะลำโพงแบบยูนิท ซึ่งหากเลือกจุดตัดได้เหมาะสมกับสภาพอคูสติคในรถ และประสิทธิภาพลำโพง ก็จะได้เสียงที่ราบรื่นมากขึ้น ปัจจุบันเพาเวอร์แอมป์ และพรีแอมป์มีครอสโอเวอร์ในตัว ทำให้ครอสโอเวอร์ลดความนิยมลง จะมีให้เห็นก็เฉพาะกับระบบใหญ่ ๆ หรือเพื่อแข่งขัน การติดตั้งครอสโอเวอร์ ก็จะอยู่ใกล้ ๆ กับอีควอไลเซอร์ ด้านท้ายรถ ควรให้ช่างผู้ชำนาญปรับจุดตัดให้

      เพาเวอร์แอมป์ สำหรับ นักเล่นที่ฟังไฮเพาเวอร์จนถึงจุดอิ่มตัว เพาเวอร์แอมป์ จะเข้ามามีบทบาททันที สังเกตได้จากการเพิ่มวอลูม มาก ๆ ในระบบไฮเพาเวอร์ เสียงจะผิดเพี้ยนไม่ได้ดังใจ นั่นเป็นเพราะกำลังขับไม่เพียงพอ สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเพาเวอร์แอมป์ คือประเภท และกำลังขับ ประเภทคือจำนวนแชนแนล มีให้เลือกทั้งบ 1/2/3/4/5/6/7 แชนแนล ที่นิยมจะเป็น 2 และ 4 แชนแนล จะมีผลต่อจำนวนของลำโพง เช่นแอมป์ 2 แชนแนล เหมาะกับลำโพง 1 คู่ หรือ 2 ข้าง

      ส่วนกำลังขับ ให้ดูกำลังขับต่อแชนแนลแบบต่อเนื่อง ( RMS : ROOT MEAN SQUARE) เช่น แอมป์ 4 แชนแนล 50 วัตต์/แชนแนล หรือ 50 วัตต์ x 4แชนแนล ตัวเลขวัตต์ ควรให้ตรงกับชุดลำโพงที่ขับ เช่น ลำโพง 150 วัตต์ 1 คู่ ควรใช้แอมป์ 50-80 วัตต์ x2 แชนแนล ( วัตต์ รวม 100-160 วัตต์ ) ไม่ควรนำตัวเลขสูงสุด มาเป็นตัวเลือก ที่ยากขึ้นมาอีกขั้น เป็นการเลือกแอมป์ขับซับวูฟเฟอร์ ถ้าเป็นแอมป์ทั่วไป ให้ดูกำลังขับต่อเนื่องว่าเพียงพอหรือเปล่า เช่น แอมป์ 150 วัตต์ x 2 ขับซับวูฟเฟอร์ 150 วัตต์ 1 คู่ได้ แต่ถ้าไม่พอให้ดูกำลังขับบริดจ์โมโน เช่น แอมป์ 50 วัตต์ x 2 บริดจ์โมโนได้ 150 วัตต์ สามารถ บริดจ์โมโนขับวูฟเฟอร์ 150 วัตต์ ได้ 1 ข้าง แต่ถ้าเป็นแอมป์ขับซับโดยเฉพาะ เช่น CLASS D จะเป็นแบบ MONO BLOCK คือ แชนแนลเดียว ดูแค่กำลังขับอย่างเดียว เช่น แอมป์ CLASS D 500 วัตต์ ขับซับวูฟเฟอร์ 500 วัตต์ ได้ 1 ข้าง ที่สำคัญต้องดูที่ความต้านทานเท่ากันด้วย ปิดท้ายด้วยแอมป์มัลติแชนแนล ใช้เรียกแอมป์ 5 แชนแนลขึ้นไป แอมป์ ประเภทนี้จะออกแบบมาให้ขับได้ทั้งระบบเช่น 50 วัตต์ x 4 + 250 วัตต์ ขับลำโพง 100 วัตต์ ได้ 2 คู่ และซับวูฟเฟอร์ 250 วัตต์ 1 ข้าง ข้อดีคือ ไม่ยุ่งยากทั้งการเซทระบบ พื้นที่การติดตั้งการปรับแต่งเสียง อีกทั้งนำมาขับระบบ 5.1 CH ได้ เพื่อดูหนังเต็มรูปแบบ

      ลำโพง คุณสามารถเปลี่ยนลำโพงได้ทันทีที่ต้องการ เพื่อให้เสียบงดีขึ้น โดยต้องคำนึงถึงตัวเลขวัตต์ เครื่องเสียงติดรถมา ในบางครั้งเสียงไม่ถูกใจ อาจเป็นเพราะลำโพงมีขนาดเล็ก อยู่ในมุมอับ เสียงเบสออกน้อย หรือแหลมเกินไป สามารถแก้ไขขั้นต้นได้โดยการเปลี่ยนลำโพงคู่หน้า ซึ่งฟรอนท์เอนด์จะมีกำลังขับเพียงพอที่จะขับได้แบบฟังสบายอยู่แล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นตำแหน่งติดตั้งมากกว่า สิ่งที่ควรรู้คือ ขนาด และตัวเลขยวัตต์ หรือทนกำลังขับ ขนาดก็คือ เส้นผ่าศูนย์กลางของตัวลำโพงดอกใหญ่ ส่วนตัวเลขวัตต์ให้ดูที่วัตต์ต่อเนื่องหรือปกติ ( CONTINUE , NORMAL)

      ลำโพงแยกชิ้น (COMPONENT) 2 ทาง จัดเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมที่สุด มีให้เลือกตั้งแต่ขนาด 4 นิ้ว - 8 นิ้ว ขนาดพอเหมาะจะเป็น 6 นิ้ว - 6.5 นิ้ว ส่วนทวีตเตอร์ขนาด 3/4 -1 1/2 นิ้ว โดยจะมีตัวพาสซีส ครอสโอเวอร์ตัดเสียงมาในเซทเดียวกัน ซึ่งจะมีแมนนวลในการต่อสายมาให้ครบชุด ถัดมาเป็นลำโพงแนร่วม (COAXIAL) ให้ความสะดวกในการติดตั้ง มีให้เลือกทั้งแบบดอกกลม และรูปไข่ ที่ได้รับความนิยม มี 6 x9 ยิ่งพื้นที่กรวยมาก ก็ให้เสียงเบสได้ลึก ลำโพง 6x9 จึงได้รับความนิยมติดเป็นคู่หลัง สำหรับนักเล่นที่ไม่ต้องการติดซับวูฟเฟอร์

      ซับวูฟเฟอร์ เป็นลำโพงดอกใหญ่สำหรับเสียงเบสโดยเฉพาะ มีให้เลือกตั้งแต่ 6 นิ้ว 8 - 10 -12-15 นิ้ว รวมถึงแบบ 4 และ 6 เหลี่ยม ทั้งแบบพร้อมตู้ กับมีแอมป์ในตัว นักเล่นมือใหม่หลายคนถามว่าจำเป็นหรือเปล่า ถ้าคุณไม่ฟังเสียงเบสลึก ๆ หรือฟังดัง วูฟเฟอร์ 6 นิ้ว ก็เอาอยู่ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมมากกว่า ที่สำคัญต้องหาที่ให้มันอยู่ ยิ่งถ้าเป็นตู้ก็จะดี สิ่งที่ควรรู้เป็นขนาด ตัวเลขวัตต์ และพื้นที่ติดตั้ง บางคนซื้อซับ 12 นิ้วมา 1 คู่ ไม่รู้ว่าจะติดตรงไหน ความสามารถพิเศษของซับวูฟเฟอร์ คือ สามารถต่อเล่นได้ที่ความต้านทานโอห์มต่าง ๆ กัน เพื่อเค้นพลังเสียงเบส อีกอย่างที่สำคัญ เป็นจุดตัดความถี่โลว์พาสส์ เพื่อให้มันทำงานในช่วงเสียงเบสลึก ๆ โดยเฉพาะ และต้องสัมพันธ์กับลำโพงวูฟเฟอร์ด้วย เช่น ตัดความถี่โลว์พาสซับวูฟเฟอร์ที่ 250 Hz ควรตัดไฮพาสที่วูฟเฟอร์ 250 วัตต์ เช่นกัน

      อุปกรณ์เสริม ปิดท้ายด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เริ่มจาก สายฟรี หรือสาย RCA ใช้ต่อสัญญาณโลว์เลเวล ร่วมกันระหว่าง ฟรอนท์ พรีแอมป์ อีคิว ครอสโอเวอร์ และเพาเวอร์แอมป์ ควรดูความยาวระหว่างอุปกรณ์ที่จะเชื่อมต่อ สิ่งที่ควรรู้ หากขั้วแจคหลวม เสียงจะขาด ๆ หาย ๆ หรือหายไปเลย สายลำโพง ใช้ต่อจากฟรอนท์ไปยังลำโพง หรือจากแอมป์ ไปลำโพง เลือกสายให้ยาวพอดี สิ่งที่ควรรู้คือ ขั้วบวก/ขั้วลบ อย่าให้สลับกัน ถ้าเป็นสายธรรมดา ประมาณ 1- 2 ปี จะเกิดสนิม


คาปาซิเตอร์ใส่ไว้ทำไม
เรื่องของ คาปาซิเตอร์ หรือ แคปปาซิเตอร์



      คาปาซิเตอร์ หรือ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้า ทำหน้าที่เหมือนหม้อพักเก็บสำรองพลังงานไฟฟ้า ตัวเก็บประจุเปรียบเหมือนแบตเตอรี่อีกตัวที่มีความต้านทานต่ำ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าในช่วงสั้น ๆ ได้อย่างมหาศาล ตัวเก็บประจุถือเป็นอุปกรณ์เสริมในการติดตั้งเครื่องเสียงตัวหนึ่ง ถ้ามีงบเหลือหรือลงทุนได้ก็ควรติดว้ สำหรับระบบเล็ก ๆ ที่มีเฉพาะเฮดยูนิตอย่างเดียว อาจเริ่มที่ค่า 0.5 ฟารัด ( 500,000 ไมโครฟารัด) สำหรับระบบที่ติดเพาเวอร์แอมป์ขยายเพิ่ม หรือเพ่มซับวูฟเฟอร์ อาจเริ่มที่ค่า 1.0-1.5 ฟารัด ( 1,000,000-1,500,000 ไมโครฟารัด) จะช่วยรักษาเสถียรภาพแรงดันไฟเพ่มกำลังสำรองชั่วขณะได้

      การจะดูว่าระบบเครื่องเสียงเราจำเป็นจะต้องต่อตัวเก็บประจุใส่ไว้หรือไม่ ก็อาจลองเช็คดูได้ครับ โดยการวัดไฟเลี้ยงในระบบขณะติดเครื่องยนต์ปกติจะมีแรงดันประมาณ 13-14 โวลต์ ขณะดับเครื่องจะมีแรงดันประมาณ 12-13 โวลต์ ลองเปิดเครื่องเสียง เลือกเพลงที่เบสหนัก ๆ เปิดเสียงเต็มที่ จะสังเกตว่าแรงดันไฟเลี้ยงมันจะแกว่งขึ้นลง ตามความดันเสียงทุ้ม ถ้าพบว่าแรงดันตกลงต่ำกว่า 10 โวลต์ ขณะเปิดเสียงเต็มที่ก็ควรมองหาตัวเก็บประจุมาติดเพิ่มได้แล้ว

      ตัวเก็บประจุจะช่วยเก็บไฟในช่วงสั้น ๆ แต่จะไม่ช่วยในกรณีที่มีการโหลดกระแสอย่างต่อเนื่อง ถ้าเปิดเสียงดังต่อเนื่อง แล้วไฟจะตกลงเรื่อยๆ ก็คงต้องมาดูแหล่งจ่ายไฟหลัก ซึ่งก็คือ แบตเตอรี่ ว่าสามารถจ่ายกระแสหรือมีค่าแอมป์ชั่วโมงพอเพียงหรือไม่ รวมทั้งความต้านทานหรือขนาดของสายไฟที่ใช้เดินในระบบ ตรวจดูว่าจุดเชื่อมต่อสายไฟต่าง ๆ แน่นหนาใช้ได้หรือไม่

      ประโยชน์อีกอย่างของการใส่ตัวเก็บประจุนอกจากจะช่วยสำรองไฟแล้ว ในรุ่นที่มีมิเตอร์วัดระดับแรงดันไฟ จะช่วยให้เราทราบถึงพลังไฟฟ้าที่เหลืออยู่ว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้าฟังเพลงเพลิน ๆ จนแรงดันแบตเตอรี่ต่ำกว่า 10 โวลต์แล้ว ไฟอาจไม่พอให้สตาร์ตรถได้


ติดแอมป์ในรถแล้วต้องเปลี่ยนแบตด้วยอ่ะเปล่า
      เป็นคำถามที่เจอบ่อยมาก เหมือนจะเป็นปัญหาคลาสสิคไปแล้ว ถ้าจะให้อธิบายต้องสาธยายกันยาวสักหน่อย เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไปของปัญหานี้ดีกว่า (เครื่องเสียงรถยนต์ ง่ายนิดเดียว...) ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนสำหรับพื้นฐานเรื่องไฟฟ้า คือ

1.กระแสไฟ (ค่าเป็นแอมป์ A) กระแสไฟ ก็เปรียบเสมือนปริมาณน้ำที่ไหลผ่านท่อน้ำ ถ้าน้ำไหลผ่านมาก ก็หมายถึงใช้กระแสไฟสูงไงล่ะครับ

2.ค่าความต่างศักดิ์ (ค่าเป็นโวลต์ V) อันนี้รู้กันอยู่แล้วว่า ระบบไฟในรถใช้ 12 V ค่าตัวนี้เปรียบเหมือน แรงดันของท่อน้ำครับ ถ้าแรงดันมาก น้ำก็ไหลได้ดี ลองนึกดู ถ้าแรงดัน 14.4 V เสียงที่ได้จากแอมป์ จะดังกว่า แรงดัน 12 V (อ่ะ แน่นอน)

3.กำลัง (ค่าเป็นวัตต์ P) ค่าตัวนี้สามารถคำนวนได้จาก P=IV จะเห็นว่าแอมป์ที่ให้กำลังขับมาก ก็จะต้องใช้กระแสสูงตามไปด้วย สำหรับค่าวัตต์นี้ มักจะมีข้อถกเถียงอีกอย่างนึงคือ วัตต์สูงสุด (watt max) หรือวัตต์โม้ วัตต์เฉลี่ย (watt RMS) แล้วยังมีว่าวัดที่ค่าความต้านทานเท่าไรอีก อะไรก็แล้วแต่โปรดอย่าได้สับสน ผมมีหลักการง่ายๆ ในการเปรียบเทียบวัตต์ของแอมป์ คือ ไม่ควรนำค่าวัตต์สูงสุด มาเป็นค่าเปรียบเทียบกำลังวัตต์ของแอมป์ เพราะวัตต์สูงสุด ไม่สามารถบอกได้ถึงคุณภาพกำลังขับของแอมป์โดยรวมได้อย่างเที่ยงตรง ควรใช้ค่า RMS หรือวัตต์เฉลี่ย ซึ่งเป็นการนำค่ากำลังของเสียงในทุกย่านความถี่มาคำนวนหาค่ากำลังจากแอมป์ และควรเป็นค่าที่อ้างอิงที่ 4 โอมห์ ลำโพง และคำนวนที่ 12 โวลต์ เพื่อจะได้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน (การแปลงค่าวัตต์ RMS เป็นวัตต์ max ให้เอา 5 คูณครับ)

      คราวนี้มาทำความเข้าเกี่ยวกับ แบตเตอรี่ ก่อน แบตเตอรี่ที่ติดตั้งในรถยนต์ จะโชว์ค่าโวลต์ที่ 12 V แต่เวลาเราวัดไฟ จะได้ประมาณ13.8V และเมื่อใช่ไปนานๆ ค่าโวลต์จะตกลงเรื่อยๆ บางครั้งเหลือ 11.5 V เมื่อถึงตรงนี้หลายท่านจะเจอปัญหาสตาร์ทรถ ไม่ติด หรือเปิดเครื่องเสียงเวลาเบสลงหนักๆ ไฟหน้าปัดกระพริบวูบวาบ ยังมีค่าที่บอกมากับแบต อีกอันนึงคือ ความสามารถในการจ่ายกระแสไฟ (แอมป์ ฮาว AH) แบต ที่มีขนาดใหญ่จะมีค่าตัวนี้สูงกว่า แบตขนาดเล็ก เช่น 45 AH , 55AH, 65AH , 75AH เป็นต้น ค่าตัวนี้หมายถึงความสามารถในการจ่ายกระแสไฟจำนวนมาก (แอมป์ที่กำลังวัตต์สูงๆ จะต้องการกระแสไฟในปริมาณที่สูงด้วย) ทีนี้ปัญหาของแบตเตอรี่ก็คือว่าเมื่อเราใช้งานไปเรื่อยๆ (โดยทั่วไป 1-2ปีแบตจะเสื่อม) ความสามารถในการบรรจุกระแสไฟ หรือการจ่ายแอมป์จะน้อยลงเรื่อย โดยค่าความต่างศักย์ โวลต์ จะลดลง จนถึงจุดที่วันนึงเราสตาร์ทรถไม่ติด เพราะไดสตาร์ทต้องการปริมาณกระแสไฟและ แรงดันไฟค่อนข้างมาก เมื่อแบตจ่ายให้ไม่ได้ ก็ต้องเปลี่ยนแบตใหม่ (เรื่องของแบตเอาไว้แค่นี้ล่ะกัน)

      ไดชาร์ท หลายคนก็คงรู้จัก มันก็คือไดนาโมนี่เอง หรือตัวที่ทำหน้าที่บั่นกระแสไฟ เพื่อจ่ายให้ระบบ (รวมถึงวิทยุ กับแอมป์ที่เราใข้เล่นเครื่องเสียงด้วย) ส่วนที่เหลือจากการใช้จะถูกนำมาชาร์ตแบตครับ โดยปรกติ ถ้าเราไมได้ลงเครื่องเสียงในรถ ไดชาร์ทจะมีปริมาณกระแสไฟ ที่เหลือจากการใช้ของรถ ประมาณ 5-15 แอมป์แล้วแต่รุ่นรถ ในปริมาณขนาดนี้ ก็เพียงพอกับการติดตั้งแอมป์ 4 แชนแนล 1 ตัวขนาด 75x4 วัตต์ เปิดดังกระหึ่มในรถ โดยที่ไม่ส่งผลกับแบตแม้แต่นิดเดียวครับ ทีนี้ไดชาร์ท รถก็มีอายุการใช้งานครับ เมื่อใช้ไฟนานๆ เช่น 5 ปีผ่านไป ความสามารถในการจ่ายไฟจะลดน้อยลง ดังนั้นถ้าเรามีแอมป์สักสองตัวเปิดดังๆ แอมป์จะดึงกระแสไฟจากแบตแทน เปรียบแบต เหมือนถึงน้ำ ถ้าปริมาณการใช้น้ำมาก แต่น้ำเติมเข้ามาในถังน้อย ปริมาณน้ำในถังจะลดลงเรื่อยๆ หลายคนคงเคยเจออาการ อยุ่ๆ แอมป์ก็ปิดตัวเองไปดื้อๆ เดี๋ยวก็ติดขึ้นมาใหม่ นั้นแหละอาการแบตหมดมาเยือน

      สายแบตเตอรี่ เปรียบเสมือนท่อน้ำ ลองคิดดูจะเกิดอะไรขึ้น ถ้า อพาร์เมนท์ทั้งหลัง อาบน้ำพร้อมกัน 100 ห้อง แต่ท่อที่ต่อจากถังน้ำขนาด แค่ครึ่งนิ้ว ทำไปพี่ไม่เพื่อเอาไว้สัก 3-5 นิ้วไปเลยล่ะ ฉันใดก็ฉันนั้น หมองูตายเพราะงู จบข่าว!!! สายแบตเตอรี่ที่มีขายกันในบ้านเรา และฝรั่งแนะนำให้ใช้ก็มีขนาดดังนี้

0 AWG ขนาด ประมาณ 40 sq.mm2 สำหรับ แอมป์ 4 ch ตัวใหญ่ กับ 2 ch ขับซับ

4 AWG ขนาด ประมาณ 20 sq.mm2 สำหรับ แอมป์ 4 ch ตัวใหญ่ หรือ 5 ch

8 AWG ขนาด ประมาณ 10 sq.mm2 สำหรับ แอมป์ 4 ch ตัวเล็ก

      แต่นี่มันเมืองไทย ร้านเครื่องเสียงบ้านๆ มักขี้เหนียว เคยเห็นใส่สายแบตขนาด 6 sq.mm2 กับแอมป์ 4 ch ตัวใหญ่ ให้ลูกค้า คือมันก็ใช้ได้นะครับไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อไรที่คุณเร่งกำลังจากแอมป์ให้สูงมากๆ หรือเปิดดังมากๆ จะเกิดปัญหาทันที คือไฟวิ่งไม่พอ

      สุดท้ายที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือตัวเจ้าปัญหา แอมป์(เครื่องขยายเสียง)!!นั้นเอง ถามหน่อยเถอะ ช่างหลายคนในร้านใหญ่ๆ หลายร้าน ติดตั้งเครื่องเสียงมาเป็น 10 ปี ยังไม่รู้เลยว่าการกินกระแสไฟของแอมป์ทำงานยังไง ถ้าไปถามช่างเขาอาจตอบคุณว่า อ๋อ แอมป์รุ่นเนี้ย 4x60 วัตต์ วัตต์max 600 วัตต์ กินกระแสไฟยังไง หรือครับ ก็...กินไม่เยอะครับ โอ้ย แค่นี้ไม่มีปัญหาหรอก เค๊าเล่นกัน 3 ตัว ยังไม่เป็นไรเลย.... (อันนี้ก็คือรู้จริงๆ ตอบตามประสบการณ์ช่างเค๊าน่ะ) ความจริงก็คือว่า แอมป์จะมีค่าการกินไฟขั้นต่ำ (Idle Current) ค่าหนึ่ง ในคู่มือแอมป์จะบอกไว้ เช่น แอมป์ 600 w RMS จะมีค่ากินไฟขั้นต่ำ 3 A เป็นต้น แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เปิดโวล่มเสียงให้ดังขึ้นเรื่อยๆ แอมป์ตัวนี้จะกินกระแสไฟมากๆ ตามเสียงที่ดังขึ้น อาจสูงถึง 50 A โอ้..โห๋ ...หลายคนอาจตกใจ อย่างนี้ไดชาร์ตก็จ่ายไฟให้ไม่พอสิ แอมป์ตัวเดียวเนี่ย... ไม่ต้องตกใจครับ มันเป็นค่าสูงสุดเท่านั้นและส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงที่เบสลงหนักๆ (ความถี่ต่ำๆ) เป็นช่วงเสี้ยววินาทีเท่านั้น แต่เฉลี่ยแล้ว จะกินกระแส 5-10 แอมป์ พูดมาถึงตรงนี้หลายคนคนร้องอ๋อกันแล้วว่า มิน่าล่ะถึงต้องมีตัวจ่ายไฟ (คาปาซิเตอร์)จะแบบแท่ง หรือจะแบบอะไรก็แล้วแต่ 1 F ,1.5F, 2.0F แล้วแต่ศรัทธา มาช่วยในการจ่ายกระแสไฟให้กับแอมป์ โดยเฉพาะแอมป์ขับซับเพราะจะหวังพึ่งปริมาณกระแสไฟจากแบตเตอรี่คงไม่ทันท่วงที (เพิ่มเติมนิดนึง คาปา ไม่ใช่แบตนะครับ มันทำหน้าที่เหมือนถังไนตรัสที่ใช้ในรถแข่งกดปู้ดเดียว รถคุณจะพุ่งฉิ๋ว แต่ไม่สามารถพุ่งได้ตลอดไป ต้องอาศัยแบตอยู่ดี

      เมื่อเราเข้าใจพื้นฐานของแหล่งพลังงานที่ป้อนให้เครื่องเสียงแล้วก็ไม่ยากที่จะอธิบายปัญหาต่างๆ แต่ต้องขอบอกก่อนนะครับว่า ส่วนใหญ่ปัญหาเรื่องระบบไฟ มักเกิดกับคนที่เริ่มมีซับเป็นของตัวเอง (อันที่จริงไม่น่าเรียกว่ามีซับน่ะเพราะต้องเสียทรัพย์ไปเยอะ) ส่วนพวกเล่นวิทยุ ขับคู่หน้า หลัง 6คูณ9 หรือมีแอมป์มาขับอีกซักตัว อย่าเพิ่มวิตกจริตครับ กลับบ้านไปดูดนมดีกว่า

      สรุปได้ว่าการมีแอมป์หลายตัวบางคนมี 6 ตัว ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องเปลี่ยนแบตหรือเพิ่มได เลย เพราะเขาอาจฟังไม่ดังมาก (ฟังสบายๆในรถ) และไม่ได้เปิด ซับตูมตาม ในทางกลับกันคนที่มีแอมป์แค่ 2 ตัว แต่ทั้งบริดส์ ทั้งโหลดลำโพง (2โอห์ม) ซับอัดกันเต็มที่ เปิดเพลงก็แนว dance เรียกว่าเปิดให้ดังฟังทั้งซอย อย่างนี้อาจต้องเพิ่มแบตอีก 2 ลูก เปลี่ยนไดให้ใหญ่ขึ้นถึงจะเอาอยู่ ปัญหาที่ตามมาแบตจะเสี่อมเร็วกว่าปรกติด้วย เช่น เมื่อก่อนเคยเปลี่ยนที่2 ปี อาจเหลือ 6 เดือน



ทริปเล็กๆการหุ้มหนังตู้ลำโพง
1.(ถ้าเป็น PVC เช่นมีลายไม้ต่าง ๆ) ให้ติดกาว PVC ด้านเรียบให้แห้งก่อน แล้ว ทากาวบริเวณส่วนโค้งมุมที่จะติด และ เฉพาะตรงมุมให้ใช้เตารีดรองด้วยผ้าสองชั้น หรือเป่าด้วยไดร์เป่าผม ให้ PVC อ่อนตัวก่อนแล้วดึงให้ยึดพอดีกับมุม แล้วแปะลงไปให้ติดกับกาว ดึงไว้สักพักจนกาวไม่ลื้น แล้วทำด้านอื่น ๆ ต่อไปครับ
2.(ถ้าเป็นหนัง) ให้ทากาวยางแล้วแปะด้านเรียบก่อน ต่อมาด้านมุมต้องใช้ตัวช่วยคือให้ทากาวที่ด้านที่จะติดกาวก่อน แล้วตอนแปะหนังให้ดึงหนังเลยออกมาแล้วใช้ไม้ตอกตะปูทับหนังกับไม้อื่นไว้ก่อนให้กาวพอแห้ง แล้วจึงตัดส่วนเกินออกครับ


เทคนิคการหุ้มหนังตู้ลำโพง
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
1.กาวยางกระป๋องใหญ่ 80 บาท


2.หนังหุ้มตู้ลำโพง ลายหนังช้าง หลาละ 70 บาทโดยประมาณ


3.กรรไกร-คัตเตอร์
4.ไม้รีดกาว หรือแปรงทาสีก็ได้
5.ไดร์เป่าผม

ขั้นตอนการทำ
1.นำตู้ลำโพงที่เราตีเสร็จแล้วมาทำความสะอาดผิวให้สะอาด
2.เอาแผ่นหนังไปวัดทาบกับตู้ลำโพงโดยประมาณแต่ต้องให้มากกว่าขนาดของตู้ลำโพงไว้ก่อน
3.เอาคัตเตอร์ หรือกรรไกร ตัดตามขนาดออกมา
4.ทากาวยางให้เต็มหน้าผิวของแผ่นหนังและตู้ลำโพง โดยใช้ไม้ทากาว หรือแปรงทาสี ทาให้ทั่วทั้งแผ่น แล้วทิ้งไว้ให้หมาด ๆ แต่ไม่ถึงกับแห้ง
5.นำแผ่นหนังที่ตัดเตรียมไว้ แปะมันเข้าไป แล้วใช้ผ้าขี้ริ้ว ถูบนแผ่นหนัง เพื่อให้แนบสนิทกับเนื้อกาวและพื้นไม้ ส่วนที่ขอบหรือมุมของตู้ลำโพง
   ให้ใช้ไดร์เป่าผมเป่าให้หนังยืดตัวก่อนแล้วค่อยๆดึงให้เข้ากับส่วนมุมของตู้ลำโพง
7.เก็บงานขอบข้างให้สวยงาม (ใช้ผ้าถู กดไปเรื่อย ๆ)






เทคนิคการหล่อตู้ลำโพงข้างประตูรถยนต์ด้วยเรซิ่น
      เพื่อนช่างที่ต้องการจะทราบขั้นตอนการหล่อตู้ลำโพงข้างประตูรถยนต์ด้วยเรซิ่นท่านสามารถเขาไปชมได้ตามเว็ปด้านล่างเลยครับรับรองว่าไม่ยาก
อย่างที่คิดครับ...


      

วิธีหล่อไฟเบอร์กลาส


เทคนิดการทำสีตู้ลำโพง
      สำหรับเพื่อช่างที่ต้องการทราบขั้นตอนการทำสีตู้ลำโพงท่านสามาารถเข้าไปเข้าไปชมได้ที่เว็ปด้านล่างเลยครับ ซึ่งจะบอกรายละเอียดให้
ครับไม่ว่าจะเป็นการทำสีระเบิดแบบธรรมดา หรือแบบกันน้ำก็มีให้ท่านชมครับ...






วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มาทำความรู้จัก ECG กันครับ

ECG คือหนังสือที่รวบรวมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไว้ทุกชนิดพร้อมบอกลายละเอียดของอุปกรณ์นั้นๆที่เราหา รวมทั้งบอกตำแหน่งขาและการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆมาไว้ในหนังสือด้วยแต่ค่อนข้างที่จะหายากเพราะอุปกรณ์ที่รวบรวมไว้ในหนังสือค่อนข้างที่จะมากเลยทีเดียว

แต่ตอนนี้มีโปรแกรม ECG ออกมาให้เราใช้กันแล้วครับแล้วผมก็มีโปรแกรมมาแจกให้ทดลองใช้ด้วยครับแต่ค่อนข้างที่จะมีอุปกรณ์ไม่ค่อย
ครบนะครับแต่ผมขอแนะนำให้เพื่อนช่างได้ลองโหลดไปใช้ดูตามเว็ปด้านล่างนี้ครับมีอะรัยก็มาเล่าสู้กันฟังบ้างนะครับ


แจกโปรแกรม ECG 
www.thequickhost.com/View.aspx?ItemID=8497d584-1fdb-dd11-a6f1-00e08127749e

วิธีเปิดโปรแกรม
1.ดาวน์โหลดโปรแกรมมา
2.เปิดโปรแกรมขึ้นมา
3.เปิดเข้าไปแล้วใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องติดตั้งใดๆทั้งสิ้น

ลักษณะของหน้าตาโปรแกรมครับ

วิธีใช้ก็เพียงแค่ใส่เบอร์อุปกรณืนั้นๆลงไปแล้วกด Enter เท่านี้มันก็บอกเรามาหมดเลยครับ

ECG ออนไลน์
      ขอแนะนำECGออนไลน์ครับสำหรับเพื่อช่างที่ใช้อินเตอร์เน็ตครับแต่ขอบอกไว้ก่อนนะครับว่ามันเป็นภาษาอังกฤษนะครับต้องใช้
ความสามารถหน่อยนะครับแต่คงจะไม่ยากหรอกครับเพาะแค่เรากรอบเบอร์อุปกรณ์ลงไปแล้วกด Enter เท่านี้มันก้อบอกมาแล้วครับ
แต่จะไม่ค่อยละเอียดมากเหมือนกับหนังสือECG กับโปรแกรม ECG หรอกนะครับเพื่อช่างคนไหนที่สนใจก๋ฃ็สามารถเข้าไปดูได้
ตามเว็ปด้านล่างนี้เลยครับ


หน้าตาของเว็ปนี้ครับ






รวมอาการเสียของทีวี

    สำหรับเพื่อนช่างที่อยากจะทราบอาการเสียของทีวีพร้อมวิธีซ่อมว่าต้องทำอย่างไงบ้างต้องเว็ปนี้เลยครับผมได้เข้าไปอ่านดูแล้วผมว่าน่าจะใช้เป็น
แนวในการซ่อมทีวีได้ค่อนข้างดีผมก็เลยเอามาแนะนำให้เพื่อนช่างได้ศึกษาดูครับตามเว็ปด้านล่างนี้เลยครับ



www.ban4tit.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538643737&Ntype=2



การผลิตจอทีวี


การตรวจซ่อมทีวี



สอนซ่อมทีวี

1.


2.

3.

4.


5.

6.

7.

8.

9.

10.

11.

    สำหรับวีดีโอที่1-11จะเป็นวีดีโอที่จะแนะนำภาคต่างๆใน TV ว่ามีภาคอะรัยบ้างทำหน้าที่อะรัย และได้ยกตัวอย่างอาการเสียของทีวีเครื่องนี้มา1อาการพร้อมซ่อมให้ดูผมคิว่าวีดีโอที่ผมนำมาแนะนำคงจะพอเป็นแนวทางในการซ่อมทีวีได้นะครับส่วนเพื่อนช่างคนไหนมีอะรัยดีๆที่จะแนะนำก็สามารถแนะนำเข้ามาได้ครับ...


เทคนิคการตรวจซ่อมSWITCHING POWER SUPPLYตระกูลใช้ ไอซี STRW…ทุกยี่ห้อ
ไฟไม่จ่าย ภาคจ่ายไฟไม่ทำงาน(ฟิวส์ไม่ขาด)
ขั้นตอนการตรวจซ่อม

      1. วัดไฟ +300 V ปกติหรือไม่

      2. ให้วัดไฟเลี้ยงของ IC801 ที่ขา 4 ปกติ +21V ถ้าวัดได้ 0 V

      3. ให้ลอยขา 4 ของ IC801 ออก แล้ววัดค่าแรงไฟที่ลายปริ้นส์ ได้ +21V หรือไม่ได้

      4. ถ้าวัดได้ +21 V พอดี สรุปได้ว่าปัญหาอยู่ที่ IC Switching IC801 เบอร์ STRW6754 เสีย

      5. ถ้าหาก IC801 เสียจริง D821 ต้องช็อตด้วย D821 5.5 V

หลักการวิเคราะห์วงจรเมื่อไฟ B+ เกิน

ขั้นตอนการปฏิบัติ

        1. ปลดโหลดออก เช่น ลอย H-OUT ออก

        2. ให้ช็อตขา 2 ของ OPTO กับ กราวด์ของเครื่อง เปิดไฟแล้ว ทดลองวัดไฟ B+ ถ้าวัดไฟได้ค่าต่ำ ตัวเสียคือ SE…..

        3. หากทำตามข้อ 2 แล้ว ไฟยังสูงอยู่ ให้ปิดสวิชท์

        4. ให้ช็อตขา 3 กับ 4 ของ OPTO แล้วเปิดสวิชท์อีกครั้ง ถ้าวัดได้ไฟต่ำตัวเสียคือ OPTO แต่ถ้าไฟ B+ ยังสูง เหมือนเดิม ตัวเสีย คือ

            STR

หลักการวิเคราะห์วงจรเมื่อไฟ B+ จ่ายต่ำ

ขั้นตอนการปฏิบัติ

        1. ก่อนเปิดสวิชท์ให้นำสายมิเตอร์วัดรอไว้

        2. ให้หา R ค่าประมาณ 120 – 330 โอมห์ ต่อคร่อมระหว่างขา 1 กับ 2 ของ OPTO (ด้านไดโอด) ทดลองวัดไฟ B+ ถ้าวัดไฟ

            ได้ค่าสูงขึ้น ตัวเสียคือ SE…..

        3. หากทำตามข้อ 2 แล้ว ไฟยังเหมือนเดิม SE… ไม่ใช่ตัวเสียแน่นอน เหลืออุปกรณ์ 2 ตัวคือ STRW…….. กับ OPTO

        4. โดยหลักการแล้วในเมื่อไฟจ่ายต่ำวงจรอื่นๆไม่เสียแน่นอน ทดสอบโดยใช้ดิจิตอลมิเตอร์วัดแรงดันไฟที่ขา FB (6) ปกติจะวัดได้ประมาณ                 0.4 V – 1.5 V ถ้าวัดได้ค่าต่ำกว่าตัวเสียคือ OPTOแต่ถ้าวัดได้ปกติ แสดงว่า STRW……. เสีย

โหลดลัดวงจรเป็นอย่างไร

โหลดของภาคจ่ายไฟจะประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก 2 วงจร
      1. B+ (90 V , 135 V, 140, )

      2. SOUND

ถ้าโหลดช็อต(ลัดวงจร)

      1. ปิดเครื่องหยุดการจ่ายไฟให้เครื่อง

      2. เช็ค ไดโอด Rectifier 90v,135v,140v ] ลีค ,ขาด ,ช็อต หรือไม่

      3. เช็ค Diode ของ Rectifier ภาค Sound


เทคนิคการตรวจโทรทัศน์สี LG MC-019A  TDA9381XXXX  
      อาการ เปิดแล้วไฟ stand by ติดแต่เครื่องไม่ทำงาน วัดไฟ ทั้งหมดแล้ว มีไฟ 5v,3.3v,14v,9v และไฟ Hor out แล้วมีครบแต่ไฟ 8Volt ไม่มี ไม่ทราบว่า IC01เบอร์ TDA9381PS เสียหรือเปล่า

ขั้นตอนการตรวจเช็ค
      1.แท่นนี้ไฟB+110V ตรง T402 ขณะที่ Hor ไม่ทำงานจะมีแรงไฟประมาณ 12Volt
      2.ถ้า Hor สามารถทำงานได้จะมีแรงไฟประมาณ 9Volt ตำแหน่ง IC 844 ขา1= 9v ขา2= 8vกว่าๆขา3= G ขา4= 8v
      3.วัดไฟที่ขา 5 - 6 ของ IC Memory ไฟมี 5Volt ทั้งสองขา
      4.วัดสัญญาณกับสโคปไม่มีอะไร และได้วัดไฟที่ T 402 แล้วได้ 12Volt
      5.วัดไฟที่ตำแหน่ง IC844 ขา 1=9v, ขา 2 =0v, ขา 3=g และขา 4 = 0v และเช็ค Clock data ที่ขา 64 ของ IC01แล้วไม่มี                Clock พัลส์ ออกมาในขณะที่กดปุ่มต่างๆที่หน้าเครื่อง

หมายเหตุ ถ้าติดสแตนบาย จึงยังไม่มีคำสั่งออกมาเปิดไฟ 8Volt ดูคำสั่ง ON/OFF ถ้าไฟ ON/OFF มีการเปลี่ยนแปลง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชุดทำไฟ 8Volt ถ้าไม่มีไฟ ON/OFF ออกมาให้ลองลง Memory ก่อน ถ้ายังไม่ได้ก็ไอซี วันซิพ เสีย....


เว็ปแนะนำสำหรับเพื่อช่างทุกคนครับ ซึ่งเว็ปนี้เป็นเว็ปไซต์ที่รวบรวมอาการเสียแล้ววิธีตรวจซ่อมTVครับ 


http://www.ban4tit.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539308912&Ntype=2



อาการภาพเส้นเดียวกลางจอ TOSHIBA 25A1

       ทีวี TOSHIBA หรืออื่น ๆ จะเจออาการแบบนี้อยู่บ่อย ๆ การซ่อมก็ไม่ยากเท่าไรครับ ก่อนอื่นให้สังเกตว่า อาการของทีวีคือ ภาพเป็นเส้นเดียว เส้นเล็ก ๆ เป็นแนวนอนดังรูป ส่วนเสียง ยังมีปรกติ 


เปิดฝาเครื่องออกมา รุ่นนี้จะมีน็อตหลายตัวหน่อย ถ้ามีฝุ่นในเครื่องมากก็เอาไปทำความสะอาดก่อนครับ


จากนั้นให้มองหา IC ตำเหน่ง IC Q-301 ดังในรูป เป็น IC VER -OUT อยู่ไกล้ ๆ กับสาย YOKE


- ก่อนอื่นให้ย้ำบัดกรี IC Q-301 และบริเวณรอบ ๆ ก่อน
- ถ้าบัดกรีแล้วไม่หายก็ลองวัดแรงดันไฟเลี้ยง IC ตัวนี้ดู
- ถ้ามีไฟเลี้ยงปรกติ ให้ลองเปลี่ยน IC ดู
- ถ้าไม่มีไฟเลี้ยง อาการที่เจอก็คือ R ที่ต่อระหว่างทางเดินไฟเลี้ยง ลองไล่แรงดันไฟดู
- โดยทั่วไป การซ่อมอาการนี้ก็มีแค่นี้ละครับ



ซ่อมเสร็จแล้วครับ อาการเส้นเดียวกลางจอ (จอสีฟ้า เพราะยังไม่ได้ต่อสายอากาศ)

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Technicians


นิยามของช่างอิเล็กทรอนิกส์

       ผู้ปฏิบัติงานช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Technicians ได้แก่ ผู้ทำงานทางเทคนิคภายใต้การแนะนำ และควบคุมของวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือทำงานทางเทคนิคไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการพัฒนา การติดตั้ง และการใช้ระบบอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการตรวจสอบปรากฏการณ์ทางไฟฟ้า หรืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และในโรงงาน ซึ่งเป็นงานที่ต้องการผู้ที่มีความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติขั้นสูงพอที่จะสามารถออกแบบพัฒนา หรือแก้ไขการทำงานผิดปกติของระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อาจควบคุมช่างและคนงานอื่นๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับการสร้างติดตั้ง และซ่อมระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์

ลักษณะของงานที่ทำ
       ทำงานทางเทคนิคภายใต้การแนะนำ และควบคุมของวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ทฤษฎีอิเล็กทรอนิกส์หลัก ของวงจรไฟฟ้า วิธีการทดสอบไฟฟ้า คณิตศาสตร์ทางวิศวกรรม และวิชาการที่เกี่ยวข้องกันมาใช้ผลิต ก่อสร้าง ติดตั้ง ทดสอบการใช้ และการบำรุงรักษาการพัฒนา การแก้ไขเปลี่ยนแปลง และการซ่อมระบบอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์และส่วนประกอบต่างๆ
ปฏิบัติงานหลักมูลฐานเช่นเดียวกับช่างเทคนิคไฟฟ้า แต่ชำนาญงานเกี่ยวกับระบบโทรคมนาคม อุปกรณ์และส่วนประกอบต่างๆ อาจชำนาญงานโทรคมนาคมระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรืองานอีเล็กทรอนิกส์ สาขาอื่นๆ และอาจมีชื่อเรียกตามงานที่ทำ ซึ่งสามารถจำแนกลักษณะงานได้ ดังนี้
1. เป็นนักวิชาการหรือช่างเทคนิคที่ปฏิบัติงานในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่งานอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ งานระบบสื่อสารวิทยุ
2. บำรุงรักษา และตรวจซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องระบบสื่อสาร
3. ควบคุมเครื่อง และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อสารโทรคมนาคมด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง และเฉพาะงาน
4. วิเคราะห์ วางแผน ควบคุม โครงงานทางด้านเครื่องมือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการประเมินผลงาน และการเขียนรายงานได้อย่างเป็นระบบ
5. เป็นผู้ประสานงานระหว่างวิศวกร และช่างฝีมือในการสั่งการ การควบคุมการตรวจสอบ และวิเคราะห์ปัญหาในงานอิเล็กทรอนิกส์
6. ตรวจสอบคุณภาพชิ้นส่วน หรือเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์จากงานการผลิต ก่อนนำบรรจุส่ง ออกตลาด

สภาพการจ้างงาน
       ช่างเทคนิคอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเลือกทำงานได้ทั้งในภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือทำงานส่วนตัวและกับหน่วยงานในองค์กรเอกชนอื่นๆ เช่น สถานประกอบการต่างๆ โรงงานผลิตวิทยุ โทรทัศน์ โรงงาน อุตสาหกรรมทั่วไป ที่ต้องใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์สายการบิน การเดินเรือทะเล เป็นต้น ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาช่างเทคนิคอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำงานจะได้รับเงินเดือนในอัตรา ดังนี้
วุฒิการศึกษา
หน่วยงาน ปวช. ปวส.
ราชการ 4,700 5,740
รัฐวิสาหกิจ 5,000 - 5,500 6,500 - 7,000
เอกชน 5,200 - 6,000 7,000 - 9,500

       อัตราเงินเดือนของผู้ประกอบช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Techniciansในภาคเอกชนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความสามารถ และความชำนาญงาน นอกจากค่าตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วอาจได้รับค่าตอบแทนในรูปอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส ค่าล่วงเวลา เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ในการทำงาน เป็นต้น
ผู้ปฏิบัติงานช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Techniciansทำงานวันละ 8-9 ชั่วโมง อาจทำงานล่วงเวลา วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดตามความจำเป็นเร่งด่วน

สภาพการทำงาน
       ผู้ปฏิบัติงานช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Techniciansทำงานทั้งใน และนอกสถานที่ทำงานในการตรวจ ซ่อม และบริการระบบควบคุมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในงานอุตสาหกรรมสภาพการทำงานหนักปานกลาง ต้องใช้ความอดทนต่อสภาพความร้อนเสียง กลิ่น ของสารเคมี ทำความสะอาดอุปกรณ์ และบางโอกาสทำงานตามลำพัง ต้องใช้ความระมัดระวัง และรอบคอบสูงพอสมควร เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และบางครั้งต้องทำงานเกินเวลาสำหรับผู้ประกอบช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Techniciansที่ทำงาน ในการวิเคราะห์ วางแผน หรือตรวจสอบคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์อาจจะทำงานในห้องทดลอง ซึ่งจะมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สำหรับการทดลอง หรือทดสอบ ต้องใช้ความระมัดระวังและรอบคอบสูงเนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาจต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการทดสอบหากไม่ระมัดระวังโอกาสที่จะประสบปัญหาไฟฟ้าดูดหรือไฟฟ้าช๊อตเป็นไปได้สูง อาจจะต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

คุณสมบัติของช่างเทคนิคอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
- สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- มีร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่องานอาชีพ
- เป็นผู้มีความละเอียดรอบคอบ คล่องแคล่ว ว่องไว ช่างสังเกต หูรับฟังได้ดี ตาดีไม่บอดสี มือและสมองสามารถทำงานพร้อมกันได้ตลอด เวลา
- มีความอดทน ขยันหมั่นเพียร สามารถทำงานกลางแจ้ง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบการคิดคำนวณ มีความละเอียดรอบคอบ
- มีความมั่นใจในตนเองสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
- มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบ วินัย
- เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยดำรงตนอยู่บนพื้นฐานแห่งคุณธรรม และกฎหมาย มีความเป็นผู้นำ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
ผู้ที่ประกอบช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Technicians ควรเตรียมความพร้อมดังนี้คือ : สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถเข้าศึกษาต่อ
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขาวิชาช่างไฟฟ้าหลักสูตร 3 ปี สำเร็จการศึกษาแล้วสามารถสมัครงานประกอบช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Techniciansหรือเข้าศึกษาต่อ
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) หลักสูตร 2 ปี ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมสาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา หรือสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลหรือสาขาวิชาไฟฟ้าในวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- สำหรับแรงงานใหม่ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปฝึกใน สพร. หรือ ศพจ. 10 เดือน และฝึกในสถานประกอบการอีก 2 เดือนรวมระยะเวลาฝึกทั้งหมด 12 เดือน จึงจะได้รับวุฒิบัตรพัฒนาฝีมือแรงงาน (วพร.) แนวการฝึกเน้นภาคปฏิบัติ 70% ความรู้ความสามารถที่ผู้รับการฝึกจะได้รับจากการฝึกได้แก่ ไฟฟ้าโรงงาน เครื่องมือทดสอบและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระบบดิจิตอลและไมโครโปรเซสเซอร์ เครื่องจ่ายไฟ และเครื่องควบคุมระบบควบคุมเรียงลำดับ ความปลอดภัยในการทำงาน และโครงงานอิเล็กทรอนิกส์

โอกาสในการมีงานทำ
       พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ก้าวไปอย่างรวดเร็ว และผลิตภัณฑ์จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป เช่น วิทยุ โทรทัศน์ระบบการสื่อสารเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการประกอบช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Technicians จึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนา และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้งาน จึงนับได้ว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางด้านนี้ จะยังมีตลาดแรงงานรองรับอยู่ในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีการหยุดชะงักทางด้านเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ ก็ตามแต่ความจำเป็นในการพัฒนาทางอิเล็กทรอนิกส์คงมีความสำคัญสูงที่จะต้องพัฒนาต่อไป
ช่างเทคนิคอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเลือกทำงานได้ทั้งประกอบอาชีพอิสระ เช่น รับซ่อมอุปกรณ์หรือระบบไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รับราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตหรือภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือเป็นลูกจ้างของสถานประกอบกิจการทั่วไป เป็นต้น

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
       ผู้ที่รับราชการ หรือเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจจะเลื่อนขั้นเงินเดือน และตำแหน่งตามกฎระเบียบที่วางไว้ส่วนงานเอกชนนั้นเมื่อระยะเวลากทำงานเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความสามารถและชำนาญงานก็จะได้เลื่อนตำแหน่ง งานและเงินเดือนสูงขึ้นตาความสามารถและประสบการณ์นอกจากนี้ยังสามารถหารายได้พิเศษ โดยรับซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่นโทรทัศน์ วิทยุ
ผู้มีพื้นฐานช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Technicians สามารถฝึกเพิ่มเติมฝีมือในหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือในสถาบันพัฒนาฝีมือ แรงงาน ช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Techniciansเป็นอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการมาก เนื่องจากกระบวนการทำงาน และกระบวนการผลิตจะเปลี่ยนไปในทางการควบคุมแบบอัตโนมัติซึ่งต้องใช้การควบคุมที่แน่นอน และแม่นยำจึงต้องอาศัยอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าไปช่วยในการควบคุม

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
         พนักงานขาย ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อมไฟฟ้า ช่างเครื่องกล ช่างซ่อมวิทยุ ช่างซ่อมโทรทัศน์ หัวหน้าควบคุมการทำงาน ช่างเทคนิค พนักงานควบคุมการทำงานเครื่องจักร ช่างซ่อมเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม

อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

การใช้งานมัลติมิเตอร์เบื้องต้น

มาทำความรู้จักกับมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
 มัลติมิเตอร์หนึ่งในเครื่องมือของช่างไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ ที่ทุกท่านที่กำลังก้าวขึ้นสู่การเป็นช่างอาชีพ และต้องการตรวจเช็ค วิเคราะห์หาอาการเสียต่างๆได้อย่างถูกต้องแม่นยำ แล้ว คุณควรจะต้องมีมัลติมิเตอร์ดีๆสักตัวไว้ใช้งานนะครับ เครื่องมัลติมิเตอร์ที่ผมแนะนำความรู้ตรงนี้ หลายๆคนที่เป็นช่างเก่า ช่างใหม่ คงจะเคยได้เคยเห็น และได้ยินยี่ห้อนี้กันนะครับ มันเป็นมิเตอร์ชนิดเข็ม ที่มีชื่อยี่ห้อว่า ซันวา (SANWA) รุ่น YX361TR ของแท้ต้องเป็น SANWA ไม่ใช่ SUNWA หรือ SAMWA นะครับ เพราะมีการลอกเลียนแบบกันมากมายหลายๆยี่ห้อ เอาความเที่ยงตรงแม่นยำแล้วจะสู่ของแท้ๆไม่ได้นะครับ ราคาจะอยู่ที่ประมาณ ไม่เกิน หนึ่งพันห้าร้อยบาท ช่างใหม่ ช่างเก่า ที่ได้อัพเดรทข้อมูลกันตรงนี้ ก็อย่าลืมมีหาไว้ใ้ช้กันนะครับ ส่วนจะซื้อกันที่ไหน ก็หาดูกันตามหน้าเวีป หรือร้านเครื่องมือช่างใกล้บ้านท่านก็แล้วกัน

รูปถ่ายด้านหน้าของ Sanwa361 TR  

 จากรูปด้านบนที่เห็น จุดตำแหน่ง (N) หรือ -COM เป็นตำแหน่งสำหรับการเสียบสายวัด (โพป) สีดำ และทางขวา (P) เป็นตำแหน่งสำหรับการเสียบสายวัด (โพบ) สีแดง

รูปภายในด้านหลังของมัลติมิเตอร์

รูปสเกลของตัวมิเตอร์

จากรูปที่ แสดงมัลติมิเตอร์ซันวารุ่น yx-361TR และส่วนประกอบต่างๆ แสดงกำกับด้วยตัวเลข มีชื่อและหน้าที่ดังนี้
หมายเลข 1 คือ สเกลสำหรับการอ่านค่าของความต้านทาน มีหน่วยเป็นโอมห์
หมายเลข 2 คือ สเกลสำหรับการอ่านค่าแรงไฟที่เป็นทั้งกระแสตรง และกระแสสลับ มีค่าตัวเลขระหว่าง 0 – 250
หมายเลข 3 คือ สเกลสำหรับการอ่านค่าแรงไฟแบบกระแสตรง ที่สามารถอ่านได้ทั้งค่าที่เป็นลบ และเป็นบวก มีตัวเลขระหว่าง 0 – 25(+) และ 0-25(-)
หมายเลข 4 คือ สเกลการอ่านค่าของอัตราการขยายของทรานซิสเตอร์
หมายเลข 5 คือ สเกลสำหรับการอ่านค่าแรงไฟสำหรับการตรวจเช็คแบตเตอรี่ที่ไม่เกิน 1.5 V.
หมายเลข 6 คือ สเกลสำหรับการอ่านค่าของเสียง มีตัวเลขทางบวก ตั้งแต่ 0 – +(10) dB และ ทางลบ 0 – (-10)
วิธีการใช้มัลติมิเตอร์ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้า
                                             
การใช้มัลติมิเตอร์แบบDigital 
      มิเตอร์ดิจิตอล เป็นเครื่องมือวัด และตรวจเช็กดี เสียอีกชนิดหนึ่งที่ช่างอิเล็คควรจะมีไว้ในมือสักตัวหนึ่ง เพราะในการตรวจวัดบางวิธีการ บางสภาวะ จะต้องการความขัดเจนของตัวเลขแรงไฟ ตัวเลขความจุของคอนเด็นเซอร์ หรืออาจวัดค่าความต้านทานของ ตัวต้านทานที่ไม่ระบุข้อมูลใดๆเลยบนตัวของมัน มิเตอร์ดิจิตอลจะสามารถช่วยให้เราทำงานได้ง่ายขึ้นนะครับ
การใช้มัลติมิเตอร์ชนิด ดิจิตอล (Digital) ยี่ห้อ Fulke รุ่น 115
ผู้เขียนขอแนะนำมิเตอร์ดิจิตอลยี่ห้อดัง ที่ราคาไม่แพงมากเกินไปนัก (7500 บ.) ที่มีประสิทธิภาพในระดับแนวหน้า สำหรับนักอิเล็คทรอนิคส์อย่างเราๆใช้งานกัน ประดับร้านซ่อมของเรา ดูดีมีชาติตระกูลเลยทีเดียวเชียวเลยครับ

ที่หน้าปัทม์ของมิเตอร์ Fulke นี้ มีรายละเอียดที่พอจะอธิบายให้เข้าใจถึงคุณสมบัติได้ดังนี้


วิธีการใช้มัลติมิเตอร์ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้า
       เครื่องมือชิ้นหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อการทำงานทางด้านช่างอย่างมาก และถือว่าเป็นพื้นฐานเครื่องมือประเภทตรวจวัด ที่ช่างและผู้ใช้งานทั่วๆไป ควรต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้งานอย่างถูกต้อง เพื่อประสิทธิภาพและความสัมฤทธิผลของการทำงานให้เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เครื่องที่ว่านี้ถูกเรียกกันในนามว่า”มัลติมิเตอร์”มัลติมิเตอร์ เป็นเครื่องมือที่รวมหลายๆ คุณสมบัติในการตรวจเช็คเข้าไว้ด้วยกันนั่นเอง เช่น ความสามารถในด้านการตรวจวัดแรงเคลื่อนของกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Volt) , ความสามารถในการตรวจวัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC Volt) ,ความสามารถในการตรวจวัดความต้านทานนของอุปกรณ์ , ความสามารถในการวัดกระแสไฟฟ้า (Amp. Meter) และ ความสามารถในการตรวจวัดการขาดต่อของจุดเชื่อมต่อต่างๆ สำหรับบทความนี้ ผู้เขียนจะขออธิบายการใช้ มัลติมิเตอร์ ยี่ห้อที่โด่งดังยี่ห้อหนึ่งนั่นก็ คือ SANWA ซึ่งเป็นยี่ห้อที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ช่าง มิเตอร์นั้นมีทั้ง แบบเข็มที่เรียกกันว่า อะนาล็อก และ แบบตัวเลข ที่เรียกว่า ดิจิตอล การใช้งานนั้นโดยหน้าที่แล้วก็มีความเหมือนกันทั้งนั้น อยู่ที่การดูอ่านค่าที่ได้รับและความไว กับอาจจะรวมถึงคุณสมบัติที่พิเศษเพิ่มเติมจากแบบเข็มก็แล้วแต่ละยี่ห้อ และรุ่นของมิเตอร์ดิจิตอลรุ่นนั้นๆบางท่านใช้มิเตอร์วัดแบบไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยคิดว่าเมื่อวัดอะไรก็แล้วแต่ถ้าเข็มมิเตอร์มีการเคลื่อนตัวจากซ้ายมือไปทางขวามือนั้นก็จะถือว่าอุปกรณ์นั้นๆ มีสภาพดีตลอด ซึ่งถือว่าเป็นความคิดที่ยังผิดๆอยู่ครับ เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้ว ท่านจะมีความเข้าใจที่ดีขึ้นครับ

          SANWA เป็นมิเตอร์แบบเข็ม (Analog) ที่ใช้งานง่ายๆด้วยปุ่มบิดเลือกการทำงานแบบต่างๆ การอ่านค่าบนหน้าปัทม์ มีใช้อยู่ 4 สเกล ได้แก่ สเกล 10 , 50 , 250 , 1000 (อ่านที่ 10 แล้วคูณ 100)

การวัดแรงไฟกระแสสลับ,กระแสตรง 


ตัวอย่างที่ 1
ถ้าเราวัดไฟไม่ว่า AC หรือ DC ที่มีแรงเคลื่อนสมมุติว่า 10 โวลท์ เราก็อ่านค่าสเกลที่ 50 เข็มก็จะชี้มาที่เลขประมาณ 10 นั่นเอง

ตัวอย่างที่ 2
ถ้าเราวัดไฟไม่ว่า AC หรือ DC ที่มีแรงเคลื่อนสมมุติว่า 200 โวลท์ เราก็อ่านค่าสเกลท 250 เข็มก็จะชี้มาที่เลขประมาณ 200 เช่นกัน

ตัวอย่างที 3
ถ้าเราวัดไฟไม่ว่า AC หรือ DC ที่มีแรงเคลื่อน สมมุติว่า 800 โวลท์ เราก็อ่านค่าสเกลท 10 เข็มก็จะชี้มาที่เลขประมาณ 8 เมื่ออ่านได้ก็ให้คูณด้วย 100 ก็จะได้เป็น 800 ครับ

การวัดแรงไฟกระแสสลับ (ไฟบ้าน) 

       จากความรู้เรื่องของแรงเคลื่อนไฟฟ้า และการเกิดกระแสไฟฟ้าตามที่ได้แนะนำไว้ไปแล้วนั้น หากว่าเราต้องการวัดแรงไฟบ้านซึ่งเป็นกระแสสลับนั้น เราจะต้องหมุนลูกบิดไปที่ตำแหน่ง AC Volt ซึ่งจะสามารถวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้สูงถึง 1,000 โวลท์ แต่เนื่องจากเราทราบอยู่แล้วว่า แรงเคลื่อนไฟบ้านในเมืองไทยนั้นมีค่าอยู่ที่ 220 โวลท์ โดยประมาณ ดังนั้นเราจึงบิดลูกบิดไปที่ 250 โวลท์ AC ซึ่งเราจะต้องตั้งย่านให้สูงกว่าแรงไฟที่เราจะทำการวัด ( สรุปก็คือต้องตั้งย่านการวัดให้สูงไว้ก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้มิเตอร์ของเราเสียหายได้ เช่น ย่านมิเตอร์ตั้งอยู่ที่ 10 โวลท์ AC แล้วเราก็นำไปวัดไฟบ้าน ที่มีแรงเคลื่อนถึง 220 โวลท์ AC ) เมื่อพร้อมแล้วก็ให้ไปนำเอาสายโพ๊ปสีแดง และสีดำเสียบเข้ากับปลั๊กไฟที่เราไว้เสียบ พวกอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านนั่นเอง ตรงนี้ก็ต้องขอเตือนไว้ก่อนว่าเรากำลังเล่นกับไฟฟ้า 220 โวลท์ ดังนั้นห้ามสัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะของสายโพ๊ปสีแดง และสีดำนะครับ เพราะจะทำให้คุณถูกไฟดูดเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

การวัดแรงไฟกระแสตรง

        ไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟที่มี ขั้วบวก และ ขั้วลบ คงที่ เช่น ถ่านไฟฉาย ,แบตเตอรี่รถยนต์ ,หม้อแปลงไฟ ดีซี (DC Adaptor) ซึ่งถ้าเราจะทำการวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรงนี้ จะต้องวัดให้ถูกขั้วบวก และขั้วลบมิฉะนั้นจะไม่สามารถอ่านค่าแรงไฟได้ถูกต้อง ( หากต่อกลับขั้วจะทำให้เข็มมิเตอร์ตีลงทางซ้ายสุด ) ก่อนการวัดเราจะต้องทราบว่าแหล่งจ่ายไฟนั้นมีแรงเคลื่อนอยู่ที่เท่าไหร่ จากนั้นเราจึงทำการตั้งย่านของมิเตอร์ ไปที่ตำแหน่งการวัดนั้น โดยต้องตั้งให้มีค่าสูงกว่าแหล่งจ่ายไฟที่เราจะทำการวัด ตัวอย่างเช่น เราจะทำการวัดถ่านไฟฉาย 1 ก้อน ซึ่งทั่วๆไปจะมีแรงไฟอยู่ที่ 1.5 โวลท์ดีซี เราก็บิดลูกบิดเลือกย่านไปที่ 10 โวลท์ดีซี แล้วนำสายโพ๊ปสีแดงไปแตะที่ขั้วบวกของถ่านไฟฉาย และสายโพ๊ปสีดำแตะที่ขั้วลบของถ่านไฟฉาย จากนั้นให้อ่านแรงไฟที่ หน้าปัทม์ของมิเตอร์ ตรงสเกลตัวเลข 0 – 10 ถ้าถ่านไฟฉายนั้นมีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ก็จะทำให้เข็มสวิงมาอยู่ที ประมาณ 1.5 โวลท์ ( อ่านสเกล10 ที่มีตัวเลข 0 2 4 6 8 10 1.5 จะอยู่ก่อนถึงเลข 2 )

การวัดการขาดต่อของสายหรือลายวงจร 

ตัวอย่าง
       ถ้าต้องการที่จะวัดสายไฟเส้นหนึ่งว่ามีการขาดภายใน หรือ ไม่ ก็ให้บิดลูกบิดไปที่การวัดโอมห์ ที่ตำแหน่ง Rx1 แล้วนำสายโพ๊ปสีแดงและดำมาแตะกัน จะปรากฏที่หน้าปัทม์ของมิเตอร์ว่า เข็มจะมีการสวิงไปทางขวามือ ให้ทำการปรับให้อยู่ตำแน่งที่ศูนย์โอมห์ ( อยู่ขวาสุดของด้านบนหน้าปัทม์ ) เมื่อปรับเรียบร้อยแล้วก็ให้ไปนำสายโพ๊ปข้างใดข้างหนึ่งไปแตะปลายสายข้างหนึ่งของสายไฟ ส่วนสายโพ๊ปที่เหลือก็ให้ไปแตะที่ปลายอีกข้างหนึ่งของสายไฟเช่นกัน ถ้าปรากฏว่าเข็มมิเตอร์มีการสวิงจากซ้ายไปขวาจนถึงตำแหน่งศูนย์โอมห์ แสดงว่าสายไม่ขาดใด แต่ถ้าได้ทำตามคำแนะนำข้างต้นแล้วเข็มมิเตอร์ไม่มีการสวิงจากซ้ายไปขวา(อยู่นิ่งๆ) แสดงว่าสายมีการขาดใน

เรียนรู้เพิ่มเติมได้จากคลิปนี้เลยครับ

การวัดRisester
การวัดCapacitor
การวัดDiode
การวัดTransistors
การวัดTriac